Monday, December 15, 2008

วิธีเตรียมตัวมาศึกษาต่อโท-เอก ในอเมริกา



วิธีเตรียมตัวมาศึกษาต่อโท-เอก ในอเมริกา


Source: www.chaokrung-usa.com
Print E-mail


ศาสตราจารย์ ดร. เมธี เวชารัตนา
Associate Chair for Graduate Studies Department of Civil and Environmental Engineering
New Jersey Institute of Technology

การ มาศึกษาต่อโท-เอกในอเมริกานั้น ฟังดูแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่พวกเรารู้ดีกันอยู่แล้ว เนื่องจากพวกเราส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นชีวิตที่นี่ด้วยการมาศึกษาต่อกันเกือบทุก คน ซึ่งรวมทั้งตัวผมเองด้วย หลายท่านคงสงสัยว่าแล้วผมทำไมถึงเลือกเขียนเรื่องนี้ สาเหตุก็มาจากที่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มีพี่ๆหลายคนพาลูกหลานมาปรึกษาเรื่องการสมัครเข้าเรียนโท-เอกที่มหาวิทยาลัย ที่ผมสอนอยู่และสอบถามถึงโอกาสและวิธีที่จะได้รับทุนด้วย นอกจากนี้ ในช่วงปี 1990-2006 ที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมช่วยพัฒนาอุดมศึกษา และสร้างระบบการให้ทุนทำวิจัยของไทยนั้น ก็ได้เห็นถึงสภาพและวิธีการเตรียมตัวมาศึกษาต่อของนักศึกษาไทยสมัยนี้ว่า ขาดการแนะนำและความเข้าใจถึงระบบการศึกษาของอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่นี่ ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์ที่นี่มา หลายปีและในปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง Associate Chair for Graduate Studies ของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมของที่มหาวิทยาลัย จึงคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อพี่น้องคนไทยที่นี่ ที่อาจจะมีลูกหลานมาเรียนต่อโท-เอกในสหรัฐ จะได้เตรียมตัวให้ตรงกับระบบการรับนักศึกษาที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขอทุนการศึกษา

เนื่องจากหลักฐานที่ต้องการนี้ บางอย่างก็เป็นของง่ายๆตรงไปตรงมาอย่างเช่น Bank Statement หรือTranscripts ผมจะขอเขียนแต่ส่วนที่คิดว่าบางท่านอาจจะไม่ทราบอย่างเช่น คะแนน TOEFL และ GRE เป็นต้นคะแนน TOEFLเมื่อ 26 ปีก่อนตอนผมมาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ คะแนน TOEFL นั้นถึงแม้จะ Require แต่ก็ไม่เข้มงวดเหมือนในปัจจุบันนี้ จำได้ว่านักศึกษาไทยกลุ่มแรกที่ผม Recruit และให้ทุนมาเรียนปริญญาเอกจำนวน 10 ท่านนั้น บางท่านคะแนน TOEFL ต่ำกว่า minimum requirement (สมัยนั้น require แค่ 500 เท่านั้น) มีท่านหนึ่งไม่ได้สอบ TOEFL มาด้วยซ้ำ ก็ยังช่วยให้เข้าเรียนได้ และก็จบกลับไปทำงานที่เมืองไทยมาร่วมเกือบ 20 ปีแล้ว ถึงแม้ว่าพวกเราที่นี่จะช่วยให้น้องๆเหล่านี้เข้าเรียนได้ ปัญหาที่ตามมาภายหลังก่อนนักศึกษาเหล่านี้จะจบก็คือปัญหาภาษาอังกฤษ ขนาดเขียน Thesis กันไม่ออกหรือเขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็กลายมาเป็นปัญหาของผมคนที่เอาเขาเข้ามาเรียน ผมเลยต้องมานั่งช่วยเขียน Thesis ให้นักศึกษาสองสามคนนี้ ปัจจุบันนี้ คะแนน TOEFL มีความสำคัญมากทีเดียว ถ้าคะแนนไม่ถึงตาม minimumrequirement แฟ้มใบสมัครจะค้างอยู่ที่ Admission Office จะไม่ถูกส่งมาที่ภาควิชา inimum requirement ก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 550 จากเมื่อก่อนแค่ 500 เท่านั้น การสอบ TOEFL ได้พัฒนาไปหลายรูปแบบในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากจะสอบกันแบบสมัยก่อนซึ่งใช้เขียนกันบนกระดาษข้อสอบ เดี่ยวนี้ใช้สอบกันทาง Computer และล่าสุดใช้สอบกันบน Internet คะแนนในแต่ละระบบก็ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น คะแนน TOEFL 550 ที่ผมกล่าวถึงเมื่อกี้นี้ จะเท่ากับ 213 ถ้าสอบแบบ Computer และจะเท่ากับ 79 ถ้าสอบแบบ Internet คะแนนระดับนี้ เป็นคะแนนสำหรับมหาวิทยาลัยชั้นกลาง (Second tier) ถ้าต้องการเข้ามหาวิทยาลัยระดับ top ten TOEFL ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 600 ขึ้นไป การเตรีมตัวสอบ TOEFL สำหรับนักศึกษาไทยในปัจจุบันนี้ มักจะต้องไปเรียนพิเศษกัน ผมอยากจะขอแนะนำให้เตรียมตัวอีกแบบหนึ่ง ข้อสอบ TOEFL เป็นการวัดภาษาพื้นฐานทั่วไปเท่านั้นว่าฟัง อ่าน เขียนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จะมีปัญหาตอนเข้าเรียนในชั้นเพราะฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นผม

ขอแนะให้ลองเตรียมตัวดังต่อไปนี้

1.ฝึกอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวัน วันละหนึ่งบทความสั้นๆ ในระยะแรกอาจจะต้องเปิด Dictionary บ่อยสักหน่อย แต่พออ่านไปสักพัก ก็จะเปิดน้อยลงเอง เพราะภาษาที่ใช้เขียนนั้นจะเป็นภาษาที่ใช้สื่อกันทั่วๆไป ศัพท์ที่ออกเป็นข้อสอบ TOEFL นั้นมักเป็นศัพท์ใช้งานธรรมดา ถ้ารู้สึกว่าหนังสือพิมพ์ยากเกินไป อาจเลือกอ่านหนังสือ Reader Digest หรือ Times หรือ Newsweek Magazine แทนก็ได้ วิธีอ่านบทความในวารสารหรือหนังสือพิมพ์เหล่านี้มีสองขั้นตอน ขั้นแรกอ่านเพื่อเอาใจความ แน่นอนถ้าไม่รู้ศัพท์ก็ต้องทนเปิด Dictionary หน่อย เชื่อผมเถิด เปิดไม่นานหรอก ศัพท์ก็จะซ้ำๆกัน พออ่านจบจับความได้ว่าเขาเขียนอะไรแล้ว ก็มาถึงขั้นที่สอง กลับไปเริ่มต้นใหม่ คราวนี้อ่านทีละประโยค จับใจความว่าเขาหมายถึงอะไร แล้วดูรูปประโยคที่เขาเขียน แล้วลองเขียนเองดูบ้างว่าถ้าเราต้องการสือ ความหมายอย่างเดียวกัน เราจะใช้คำศัพท์และเขียนรูปประโยคแบบเดียวกันอย่างเขา
หรือไม่ ลองทำอย่างนี้สักพัก ภาษาเขียนของคุณจะดีขึ้นทันตาเห็น บทความในหนังสือ Times กับ Newsweek Magazine ใช้ภาษาดีมาก ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ถ้าทำตามที่แนะนำ คุณจะทำคะแนน TOEFL ได้ดีแน่ๆ และก็อาจไม่จำเป็นต้องเสียเงิน
เสียเวลาไปเรียนพิเศษ

2. การฝึกฟังภาษาอังกฤษ (Listening) การฟังค่อนข้างจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักศึกษาไทยของเราโดยเฉพาะถ้าฝรั่งพูด เร็วๆอย่างพวกชาวนิวยอร์ก หรือพวกที่ชอบใช้ภาษา Slang วิธีเตรียมตัวก็หนีไม่พ้นการฝึกฟังภาษาอังกฤษจากช่องข่าวต่างๆเช่น CNN, MSNBC, FOX, BBC หรือ VOA (Voice of America) เป็นต้น เวลาฟังต้องหัดจับใจความว่าเขาพูดอะไรบ้าง เวลาสอบ TOEFL จะมี Section ที่ให้ฟังแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อีกวิธีหนึ่งในการฝึกการฟังคือฟังจาก Tape โดยมีเอกสารประกอบพร้อมทั้งคำถามประกอบแบบที่เหมือนกับการสอบจริงเลย Tape เหล่านี้อาจจะหาฟังหรือขอยืมมาฟังได้จาก AUA หรือ ห้องสมุด British Council

3.การฝึกทำข้อสอบเก่าๆ เนื่องจาก TOEFL เป็นการวัดพื้นความรู้ภาษาอังกฤษแบบใช้งาน ศัพท์และ Grammar ที่ออกในข้อสอบจึงค่อนข้างจะง่ายและเป็นภาษาที่เห็นกันในชีวิตประจำวัน จึงไม่ยากแบบที่ออกใน GRE หรือ GMAT การทำข้อสอบเก่าๆบ่อยๆจะช่วยทำให้ได้คะแนนสูงขึ้นอย่างแน่นอน เด็กนักศึกษาจากประเทศจีนในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาได้คะแนน TOEFL สูงมาก ผมมีโอกาสถามนักศึกษาเหล่านี้ว่าเขาเตรียมตัวอย่างไร ส่วนมากจะฝึกทำข้อสอบเก่าๆกันอย่างจริงจังจนเกือบจำโจทย์ที่ถามได้เลย คะแนน TOEFL ของนักศึกษาเหล่านี้ล้วนแต่เกิน 600 ขึ้นไปเกือบทุกคน เนื่องจากเป็นการเตรียมสอบโดยวิธีจำเอา นักศึกษาเหล่านี้ถึงแม้คะแนน TOEFL จะสูง แต่ก็มีปัญหาสือกับอาจารย์ที่นี่ไม่ค่อยได้ ด้ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง การพูดและการเขียน แต่เนื่องจากคะแนน TOEFL สูง จึงไม่มีปัญหาตอนรับเข้าเรียนหรือตอนพิจารณาให้ทุน

4.วิธีเลี่ยงถ้าได้คะแนน TOEFL ต่ำ ถ้าไม่ ต่ำมากนักเช่นคะแนนอยู่ระหว่าง 525-549 ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยที่ผมสอนอยู่ ผมก็จะขอร้องให้อาจารย์ภาคภาษาอังกฤษโทรศัพท์คุยกับนักศึกษาโดยตรง หลังจากคุยกันแล้วก็ขอให้อาจารย์ท่านนั้นช่วยเขียน
ยืนยันว่านักศึกษาคน นี้ถึงแม้คะแนนจะต่ำ กว่า Minimum Requirement แต่สามารถฟังและสื่อ หรือ Communicate ได้ จดหมายรับรองนี้เป็นการประเมิน English Proficiency แบบ Oral Exam แบบไม่เป็นทางการหรือ Unofficial ทาง Admission Office มักจะยอมรับแทนคะแนน TOEFL ที่ต่ำกว่า Minimum Requirement อีกวิธีหนึ่งที่ทาง Admission อาจจะยอมรับแทนคะแนน TOEFL คือ ESL หรือการมาเรียนภาษาอังกฤษกับโรงเรียนภาษาก่อน ถ้าสอบผ่านเกรดที่กำหนดไว้ได้ก็อาจจะใช้แทนคะแนน TOEFL ได้ ข้อยกเว้นทั้งสอง ที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นวิธีอย่างเป็นทางการ แต่เป็นวิธีเลี่ยงซึ่งต้องมีคนช่วยวิ่งติดต่อให้ หรือถ้าหากว่าตัวนักศึกษาเกิดบังเอิญมาอยุ่ที่นี่แล้ว ใจกล้าๆเดินเข้าไปขอคุยกับ Director of Graduate Studies ของสาขาวิชานั้นๆ หรือคุยกับ Dean of Graduate Studies ก็ได้ ถ้าหากคุยกันรู้เรื่องเขาก็อาจจะยกเว้นเรื่องคะแนน TOEFL ให้

5.คะแนน TOEFL กับการได้รับทุน TA หรือ RA (Teaching Assistant หรือ Research Assistant) สำหรับนักศึกษาที่สนใจจะรับทุน TA หรือ RA จากมหาวิทยาลัยนั้น ต้องมีคะแนน TOEFL อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า Minimum Requirement ถ้าต่ำกว่าก็ไม่มีสิทธิ์รับทุนเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวสอบ TOEFL ให้ได้คะแนนสูงๆจึงมีความสำคัญทีเดียวถ้าคิดจะขอทุนจากมหาวิทยาลัย

6.ควรสอบ TOEFL เมื่อไร? เพื่อให้ได้คะแนนสูงตามที่หลายๆมหาวิทยาลัยตั้งไว้ นักศึกษาควรจะสอบ TOEFL สักสองหรือสามครั้งก่อนที่จะเริ่มสมัคร อย่าลืมว่าถ้ายังไม่มีคะแนน TOEFL กับ GRE (หรือ GMAT) การพิจารณาตอบรับก็จะหยุดค้างอยู่ที่แผนก Admission จนกว่าเอกสารทั้งหมดพร้อม แฟ้มใบสมัครจึงจะถูกส่งไปยังภาควิชาเพื่อพิจารณา โดยปกติแล้วนักศึกษาน่าจเริ่มสอบ TOEFL ประมาณหนึ่งปีก่อนที่จะเริ่มสมัครเรียน ผมได้มีโอกาสพบกับนักศึกษาหลายคนที่มาขอคำแนะนำ หลายท่านสอบผ่านได้รับทุนของรัฐบาลไทยให้มาเรียนโท-เอก แต่ไม่มีคะแนน TOEFL กับ GRE (หรือ GMAT) พอผมถามว่าสมัครสอบหรือยัง บางท่านตอบว่าต้องรอเรียนพิเศษก่อนแล้วถึงจะไปสมัครสอบ ซึ่งพอเรียนภาษาเสร็จ เวลาหนึ่งปีที่รัฐบาลให้หาโรงเรียนเรียนต่อก็หมดพอดี ทุนที่สอบได้ก็หลุดไป ทำให้ผู้ดูแลโครงการต้องกลับไปเริ่มรับสมัครเด็กกันใหม่ ทำให้โครงการและโปรแกรมที่วางแผนไว้ต้อง
ล่าช้าไปด้วยการเตรียมตัวสอบ GREข้อสอบ GRE แบ่งเป็น 3 parts ดังต่อไปนี้คือ Verbal Mathematic กับAnalytical ส่วนที่ 1 และ 2 มีคะแนนเต็มส่วนละ 800 สำหรับส่วนที่ 3 นั้นคะแนนเต็ม 6 คะแนน GRE ที่มหาวิทยาลัยระดับ Second tier จะรับนั้น part ที่ 1 และ 2 รวมกันควรอยู่ประมาณ 1100-1250 ส่วนที่ 3 ควรได้ไม่ต่ำกว่า 4 แต่ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัย Top Ten คะแนน GRE ของสอง part แรกรวมกันควรจะได้อย่างน้อยไม่ ต่ำกว่า 1300 หรืออยู่ระหว่าง 1300-1500 และส่วนที่ 3 ต้องได้อย่างน้อย 5 หรือได้ 6 เลย การพิจารณาคะแนน GRE นั้นไม่ขึ้นกับ Admission Office แต่ขึ้นอยู่กับภาควิชา ถ้าคะแนน GRE ต่ำกว่าที่ควรจะได้ แต่คะแนน TOEFL ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด แฟ้มใบสมัครจะถูกส่งไปยังภาควิชาเพื่อพิจารณา ถ้าเกรด GPA ดี ภาควิชาก็อาจจะรับถึงแม้ว่าคะแนน GRE อาจจะไม่ถึงตามเกณฑ์ การเตรียมตัวสอบ GRE นั้นยากกว่า TOEFL มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง part Verbal หรือ ภาษาอังกฤษซึ่งส่วนมากเป็นศัพท์ที่ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้นคะแนนจาก part Math นั้นควรจะทำให้ได้ดีเพื่อคะแนนรวมของสอง part แรกจะได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ ส่วน part ที่ 3 Analytical นั้นก็เป็นส่วนที่น่าจะทำได้ดีเช่นเดียวกัน วิธีเตรียมตัวสอบ GRE นั้นคงต้องใช้วิธีฝึกฝนจากการทำข้อสอบเก่าเพื่อให้คุ้นกับรูปแบบของข้อสอบ บวกกับขยันท่องจำศัพท์ต่างๆ ถ้าคะแนน GRE ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ GPA ก็ควรจะสูงมากหน่อย ถ้า part Verbal ต่ำแต่คะแนน TOEFL สูง ก็ช่วยในการพิจารณาด้วย คะแนนเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์กัน จึงควรส่งให้ครบ

จดหมายแนะนำนักศึกษา (Letter of Recommendation)จดหมายแนะนำนักศึกษามีความสำคัญมากโดยเฉพาะถ้ามาจากอาจารย์ หรือผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในสาขาวิชาหรือวงการวิชาชีพนั้นๆ ถ้ามาจากอาจารย์หรือคนที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงการ ลักษณะ
รูปแบบของ จดหมายจะมีส่วนชี้บอกถึงน้ำหนักของจดหมาย ตัวอย่างเช่น ถ้าจดหมายเขียนมาในรูปที่ว่านักศึกษาคนนี้เรียนวิชานี้กับเขาได้เกรดดังต่อ ไปนี้ แบบนี้เป็นจดหมายธรรมดาที่ไม่มีคุณค่าหรือความหมายมากนัก แต่ถ้าจดหมายเขียนในรูปแบบที่ว่าได้รู้จักเด็กคนนี้มากี่ปี และนักศึกษาได้ทำโครงการอะไรบ้าง บุคลิก นิสัยใจคอและระบบการทำงานเป็นอย่างไร และเขามีความประทับใจกับผลงานของนักศึกษาคนนี้อย่างไร รูปแบบหลังแสดงถึงความตั้งใจที่จะแนะนำนักศึกษาในแง่ที่ดี จดหมาย Recommendation ที่มาจากเมืองไทยมักมีรูปแบบที่เป็น Format เดียวกันหมดไม่ว่าจะเป็นเด็กคะแนนดีหรือที่คะแนนต่ำ นอกจากจะมาจากอาจารย์ที่ไม่ได้ เป็นที่รู้จักแล้ว จดหมายส่วนใหญ่เขียนมาในรูปแบบที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางวิชาการมากนัก อีกปัญหาหนึ่งที่เห็นบ่อยๆสำหรับจดหมายที่มาจากเมืองไทยคือเรื่องภาษาอังกฤษ ที่เขียนมาในจดหมาย มักจะมี Grammar ผิดอยู่เสมอ จดหมายแบบนี้ทำให้ผู้ประเมินมีภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อนักศึกษา ส่วนจดหมายจากประเทศ India นั้นมักจะเขียนดีไปหมด เด็กบางคนคะแนนเกรดต่ำมาก ก็ยังเขียนมาว่าอยู่ใน Top 5% ของชั้น การมั่วเขียนแบบนี้ทำให้จดหมาย Recommendation ไม่มีความหมาย ในปัจจุบันนี้ถ้าเป็นนักศึกษาจากประเทศ India ต้องได้ First Class ขึ้นไปเท่านั้นถึงจะรับ สิ่งที่เล่ามานี้ก็คงเป็นข้อคิดและคำเตือนสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะ สมัครมาเรียนต่อว่าควรจะไปขอจดหมายจากอาจารย์ท่านใดถึงจะเหมาะกับสาขาวิชา และมหาวิทยาลัยที่จะสมัคร

Statement of Purposeในการเขียน Statement of Purpose นั้น นักศึกษาควรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของบทความนี้ สิ่งที่ผู้ประเมินต้องการนั้นมีสองส่วนดังนี้ คือต้องการเห็นแนวคิดของนักศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิต ว่ามีพื้นฐานอย่างไร และมีแนวคิดต่อไปในอนาคตอย่างไร แนวคิดเหล่านี้จะมีความสำคัญมากสำหรับนักศึกษาที่สมัครระดับปริญญาเอก ซึ่งมักจะแสดงถึงความสนใจส่วนตัวว่าสนใจงานวิจัยในสาขาไหนบ้างและหัวเรื่อง อะไรบ้าง ถ้าหากเขียนได้ดีและตรงกับงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชานั้นๆ โอกาสที่ภาควิชาจะรับก็สูงขึ้นเพราะต้องการนักศึกษาท่านนี้มาช่วยทำวิจัยกับ อาจารย์ท่านนั้นๆ เพราะฉะนั้น ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนบทความนี้จึงควรได้ศึกษาถึงงานวิจัยของอาจารย์ในภาค วิชานั้นๆเสียก่อน ข้อมูลเหล่านี้ในปัจจุบันสามารถหาดูได้จาก website ของภาควิชาที่จะสมัคร ซึ่งมักจะมีการสรุปโครงการและงานวิจัยของอาจารย์แต่ละท่านแสดงไว้ งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะ ศึกษาก่อนที่จะลงมือเขียนบทความ Statement of Purpose เพราะกรรมการที่อ่านและประเมินใบสมัครมีหน้าที่ที่จะหานักศึกษามาช่วยทำงาน วิจัยของภาคที่ได้รับทุนสนับสนุนมา ผู้เขียนที่สามารถผูกความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนให้เข้ากับงานวิจัยที่ กำลังทำอยู่ในสถาบันนั้นๆก็จะได้เปรียบกว่าผู้สมัครท่านอื่นๆ อีกส่วนหนึ่งที่ผู้ประเมินดูก็คือภาษาและความสามารถในการเขียนบทความของผู้ สมัคร ผู้สมัครที่ภาษาดีย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่มีปัญหาทางภาษา ดังนั้นก่อนที่จะส่งบทความนี้ไปกับใบสมัคร ผู้สมัครน่าจะให้ใครช่วอ่านตรวจภาษาเสียก่อน อย่าส่งบทความที่มีภาษาผิดๆไปเพราะจะส่งผลลบให้ผู้ประเมินเกี่ยวกับพื้นฐาน ของผู้สมัครโดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งผู้สมัครระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยต่างๆและมีระเบียบค่อนข้างมากซึ่งผมเองก็ไม่คุ้นเคยมากนักเพราะ มีหน่วยงานเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่ดูแลเรื่องนี้ สิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นระบบทุนการศึกษาระดับ ป. โทและเอกที่ผมดูแลอยู่

ทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตมีสองแบบดังนี้ แบบ Scholarship หรือ Fellowship กับแบบ Assistantships ซึ่งสามารถแยกต่อไปเป็น Teaching Assistantship (TA) กับ Research Assistantship (RA) ระบบAssistantship เป็นระบบที่มีทุนมากกว่าระบบแรก ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ข้อแตกต่างระหว่างสองระบบนี้คือ Scholarship กับ Fellowship นั้นผู้ได้รับทุนได้เงินไปฟรีๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากเรียนหนังสือเท่า นั้น ส่วนใหญ่เป็นทุนจากองค์กรหรืมูลนิธิและส่วนมากจะให้เฉพาะกับ US Citizens เท่านั้น สำหรับ TA กับ RA นั้นผู้ที่ได้รับทุนต้องทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง ถ้าเป็น RA หน้าที่หลักก็คือช่วยทำงานวิจัยที่ได้รับทุนมาจากหน่วยงานต่างๆ งานวิจัยนี้โดยมากมักจะเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาท่านนั้นๆ แต่ในบางครั้งก็ไม่เกี่ยวข้องเลยก็มี ถ้าเกี่ยวข้องโดยตรงวิทยานิพนธ์ก็มักจะเสร็จเร็วขึ้น ส่วนงาน TA นั้น ก็เป็นการช่วยสอนและตรวจการบ้านของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ช่วยคุม Lab หรือคุมสอบเป็นต้น ถึงแม้ว่างานลักษณะนี้อาจจะดูเหมือนไม่มีประโยชน์กับนักศึกษามากนักเพราะไม่ เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์เลย แต่ในความเป็นจริงนักศึกษาที่เป็น TA จะเรียนรู้ระบบการสอนซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สำคัญเวลาสมัครเป็นอาจารย์หลัง จากจบปริญญาเอกแล้ว ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในนักศึกษาที่เป็น RA เลย นักศึกษาที่ได้รับทุนมาจากเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่เรียนอย่างเดียวเลยไม่มี โอกาสที่จะได้ประสบการณ์ทางด้านระบบการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เพราะใช้ชีวิตเป็นนักเรียนเท่านั้น ตัวผมเองในสมัยที่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่ University of Illinois นั้นเริ่มต้นจากการเป็น RA แต่เนื่องจากที่ภาควิชาในตอนนั้นขาด TA อาจารย์ที่ปรึกษาจึงขอให้ไปช่วยสอนอยู่สองสามเทอม ซึ่งก็ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดี เทอมไหนต้องสอนจะรู้สึกว่าพูดคล่อง การที่ต้องบรรยายหน้าชั้นบ่อยๆก็ช่วยสร้างความมั่นใจในการเสนอผลงานวิชาการ ในตอนหลัง รวมทั้งตอนสอบวิทยานิพนธ์ด้วย นักศึกษาปริญญาเอกทุกคนที่มีผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ว่าจะเป็น RA หรือ TA จะมีประสบการณ์ในการสอนทุกคน การให้ทุนการศึกษานั้น ถ้าเป็นตำแหน่ง TA ของมหาวิทยาลัย หรือของภาควิชามักจะให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกเท่านั้น ถ้าให้กับเด็กปริญญาโทก็จะเป็นเฉพาะในกรณีพิเศษ สำหรับตำแหน่ง RA นั้น อาจารย์ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอก เพราะมีพื้นความรู้มากกว่าและอยู่ทำโครงการได้ต่อเนื่องถึงเกือบ 4 ปี แต่บางครั้งก็มีให้ทุนกับนักศึกษาปริญญาโทบ้าง การที่จะให้กับใครนั้นเป็นสิทธิ์ของอาจารย์ผู้ดูแลโครงการนั้นๆเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นกับคณบดีหรือหัวหน้าภาควิชาเลย เท่าที่ผ่านมา ถ้าเป็นนักศึกษาระดับ ป. โท ที่มาศึกษาที่ NJIT หลังจากที่ภาควิชารับเข้าเรียนแล้ว ผมจะพาไปแนะนำให้กับอาจารย์ที่มีทุนวิจัยและช่วยฝากให้ทำวิจัยกับเขา ส่วนมากเกือบทุกคนก็ได้รับทุน RA จนเรียนจบ บางคนเริ่มจากปริญญาโทแล้วก็เลยได้ทุนทำเอกต่อไปด้วย โดยทั่ว ๆ ไปแล้วชื่อเสียงนักศึกษาไทยนั้นค่อนข้างดี ส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานและเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ฝรั่งเกือบทุกคน เพราะฉะนั้นการขอทุนให้เด็กนักศึกษาไทยจึงมีโอกาสค่อนข้างดี การไปคุยขอทุนเป็น RA นั้นควรเตรียมตัวด้วยการศึกษาว่าอาจารย์ท่านใดในภาควิชานั้นๆที่มีทุนวิจัย และเขาทำวิจัยเรื่องอะไรอยู่ ทำการบ้านโดยหาบทความเรื่องเหล่านั้นมาอ่านก่อนที่จะไปคุยกับอาจารย์ท่าน นั้น ถ้าอาจารย์ท่านนั้นมีความรู้สึกที่ดีว่าเรามีพื้นฐานและสนใจในงานวิจัยที่ เขาทำอยู่ เขาก็มักจะชวนให้ทำวิจัยกับเขา อย่าลืมว่าอาจารย์ก็อยากได้ลูกศิษย์ที่เก่งมาช่วยทำวิจัย โดยทั่วไปแล้วนักศึกษา Full-Time ส่วนใหญ่ที่ทำปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมักจะมีทุน TA หรือ RA ให้ ดังนั้นนักศึกษาที่สนใจจะเรียนปริญญาเอกจึงไม่น่าจะต้องจ่ายเงินเรียนเอง การรับทุนทำเอกจากมหาวิทยาลัยที่นี่นั้นมีข้อดีอยู่ตรงที่ไม่ต้องมีภาระ หนี้สินที่ต้องไปใช้คืนเหมือนกับพวกที่รับทุนรัฐบาลไทยมาศึกษาต่อ นักศึกษาบางคนรับทุนมาแล้วพอเรียนจบเกิดอยากจะอยู่ทำงานที่นี่ต่อก็ต้องเจอ ปัญหาใช้ทุนคืนแพงถึงสามเท่าของเงินที่รัฐบาลให้มา ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องปวดหัวเดือดร้อนไปตามๆกัน สรุปแล้วถ้าใครสนใจจะเรียนต่อระดับปริญญาเอกโอกาสที่จะได้รับทุนที่นี่ค่อน ข้างจะดีมาก สำหรับคนที่รับทุนรัฐบาลมาศึกษาต่อนั้นก็มีข้อดีตรงที่ว่าพอจบกลับไปก็มีงาน รออยู่แล้วไม่ต้องเป็นห่วงหรือปวดหัวเรื่องหางาน สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะรับราชการนั้น การรับทุนมาศึกษาต่อจึงเป็นสิ่งที่ดีที่ไม่ต้องไปห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ก่อนมาควรจะได้รับบรรจุเข้าเป็นข้าราชการเสียก่อน วิธีนี้จะ ได้อายุราชการในช่วงที่ลามาเรียนด้วย ททางอ้อมในการเข้าศึกษาต่อปริญญโทในกรณีที่มีคะแนนต่ำ
ปกติแล้วนักศึกษาที่ภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัยที่นี่จะรับเข้าเรียนต่อระดับ ปริญญาโทนั้นต้องมีคะแนน GPA มากกว่า 3.00 ขึ้นไป ส่วนนักศึกษาที่รับเข้าเรียนปริญญาเอกนั้น เกรดคะแนนตอนจบปริญญาโทต้องมากกว่า 3.50 ขึ้นไป สำหรับนักศึกษาทีคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าวนี้ก็มักจะถูกตอบปฎิเสธ วิธีที่จะเข้าศึกษาต่อปริญญาโทนั้นมีวิธีทางอ้อมดังนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในสหรัฐจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า Continuing Education Division หน่วยงานนี้มีหน้าที่จัดหลักสูตรสั้นๆที่เป็นที่รู้จักกันว่าShort courses หรือ Certificate Programs หลักสูตรเหล่านี้เข้าง่ายกว่าพวกที่เป็นแบบปริญญา โดยทั่ว ๆ ไปนักศึกษาเรียนประมาณ 4 วิชา พอสอบผ่านก็จะได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate) วิชาที่สอบผ่านจะมีคะแนนกับเกรดเหมือนวิชาที่เรียนตามปกติ นักศึกษาสมัครเข้าเรียนเป็นแบบไม่เอาปริญญาหรือ Nonmatriculated ถ้าหากนักศึกษาสามารถทำคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นได้เกรด B+ ขึ้นไปแล้วสนใจที่จะเรียนปริญญาโท บางภาควิชาอาจรับนักศึกษาเหล่านี้เข้าโปรแกรมปริญญาโทแบบ Conditionally Admitted โดยอาจจะมีข้อแม้ว่าให้ทดลองเรียนดู และ 3 วิชาแรกที่เรียนต้องได้คะแนน B+ ขึ้นไปเป็นต้น ในรูปแบบนี้ วิชาที่เรียนไปแล้วตอนที่ลง Short Course ก็สามารถนำมานับรวมด้วยเพราะมีเกรดเหมือนๆวิชาอื่นๆ เมื่อลงเรียนครบ 30 หน่วยกิตก็ครบตามหลักสูตรสามารถรับปริญญาโทได้ ทางอ้อมแบบนี้มักจะมีในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองใหญ่ และนักศึกษาที่รับเข้าเรียนในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่คะแนนตอนจบ ปริญญาตรีไม่ดีพอ แต่มีประสบการณ์ทำงานมาหลายปีเป็นต้น สรุปแล้ววิธีนี้ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อปริญญาโท ได้ผมคิดว่าสิ่งที่เล่ามานี้น่าจะครอบคลุมหลักสำคัญต่างๆในการเข้าศึกษาต่ป ริญญาโท-เอกในอเมริกา ระบบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นก็ไม่เหมือนกันหมดเลยทีเดียว แต่ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันมาก ท้ายนี้ผมหวังว่สิ่งที่เขียนมานี้คงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่ กำลังเตรียมตัวที่จะสมัครมาเรียนต่อปริญญาโทหรือเอกในอเมริกา

ศาสตราจารย์ ดร. เมธี เวชารัตนา

Associate Chair for Graduate Studies Department of Civil and Environmental Engineering

New Jersey Institute of Technology

Newark, New Jersey 07102

E-mail: Methi.Wecharatana@njit.edu

No comments: