Saturday, November 15, 2008

Princess Galyani- Royal Crematorium Ground


NOVEMBER 15: People gather near a billboard of the late Thai Princess Galyani Vadhana during her cremation ceremony near the royal palace on November 15, 2008 in Bangkok, Thailand. The funeral procession for the late princess was attended by tens of thousands of Thais people. Source: daylife.com.
BANGKOK, THAILAND - NOVEMBER 15:  People gather near a billboard of the late Thai Princess Galyani Vadhana during her cremation ceremony near the royal palace on November 15, 2008 in Bangkok, Thailand. Princes Galyani Vadhana, the elder sister of King Bhumibol Adulyadey, died of abdominal cancer ten month ago on January 2 at the age of 84. The funeral procession for the late princess was attended by tens of thousands of Thais people. From Getty Images.

Seen at the back is the Grand Palace

In the middle is the Royal Crematorium Ground, with the Royal Crematorium structure in the middle

The Golden Chariot, built during the reign of King Rama I, can be seen at bottom right


(Photo from the Bangkok Post)

Source: soravij.com

Royal Cremation Preparation

The Pra Merumas, or the Cremation Structure, is to be designed and built at the Royal Lawn, or Sanam Luang, in front of the Grand Palace. The newspapers reported on 9 December 2008 that the structure has been chosen by HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn at the command of HM the King, shown at left. The structure will also have the 7-tiered umbrella, instead of the normal 5, as specially granted by the King. It is estimated that the structure will take 6-7 months to complete, as it will be hand-built and hand-decorated. In the old days, the structure would be entirely made of wood, but in modern times, wood is scarce and costly, so the basic structure will be made of metal, and decorated with wood instead. Click the picture at left to enlarge.




Photography Credit and Copyright: Navarat C.

Thank you for your contribution
October 25, 2008

วันเสาร์นี้ บุญพาวาสนาส่งให้ได้เข้าไปในบริเวณงานก่อสร้างพระเมรุ สำหรับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ท้องสนามหลวง

พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นกุฎาคารเรือนยอดประธาน มณฑล สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระเมรุทรงปราสาทจัตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง ยอดปักพระสิปตปฎลเศวตฉัตร จากฐานถึง ยอดฉัตรสูง ๓๗.๘๕ เมตร กว้าง ๓๑.๘๐ เมตร ยาว ๓๙.๘๐ เมตร สร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ประดับด้วยกระดาษทองย่นตกแต่งด้วยลวดลาย ฐานพระเมรุ จัดทำเป็น ๒ ระดับ มีบันไดทอดถึงตลอดทั้ง ๔ ทิศ ระดับแรกเรียกว่า ฐานชาลา ประดับด้วยรูปเทวดานั่งคุกเข่า พระหัตถ์ถือบังแทรกตรงกลางเป็นโคมไฟ ประดับตามพนัก ฐานชาลา ด้านในมีรูปเทวดา ประทับยืนถือฉัตรเครื่องสูงรายรอบ ระดับที่สองหรือฐานบนเรียกว่า ฐานพระเมรุ เป็นฐานสิงห์ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลาทั้ง๔ทิศ

โถงกลางใหญ่ตั้งพระ จิตกาธานขนาดใหญ่สำหรับประดิษฐานพระโกศ เพื่อถวายพระเพลิง ทางด้านทิศเหนือ
ของพระจิตกาธาน มีรางยื่นออกไปนอกมุขเป็นสะพานเกริน เพื่อใช้เป็นที่เคลื่อน พระโกศจากพระยานมาศสามลำคาน ขึ้นบนพระเมรุ

องค์พระเมรุทั้งด้านในและด้านนอก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษทองย่นเกือบทั้งหมด ใช้สีทองเป็นหลักและประกอบ ด้วยสีอื่นๆ ที่เป็นสีอ่อนหวาน เหมาะกับพระอุปนิสัยและพระจริยวัตรที่นุ่มนวล สง่างาม ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

นำชมรอบนอกก่อน พระที่นั่งทรงธรรม

ด้านทิศตะวันดก

ด้านทิศตะวันออก

มุมมองจากห้องประทับภายในพระที่นั่งทรงธรรม


สวนป่าหิมพานต์

รูปหล่อเทวดา



กินรี


นกทัณฑิมาตนนื้ทันสมัยใส่นาฬิกา


กินรีตนนื้ก็ทันสมัยเพราะเป็นลูกครึ่ง

เทวดาอัญเชิญเครื่องสูง

เทวดาอัญเชิญเครื่องสูงอีกองค์นึง

วิจิตรศิลป์

งดงามดั่งเทพนิมิตร

เกริน กำลังติดตั้งเพื่ออัญเชิญพระศพสู่พระจิตกาธาน

เตา เป็นเทคโนโลยีที่มาแทนการถวายพระเพลิงแบบดั้งเดิมกำลังได้รับการติดตั้ง

พัคลมดูดอากาศจากเตากำลังติดตั้ง

มาดูข้างบนกัน เตาถวายพระเพลิงบนพระเมรุ

มองผ่านจากพระจิตกาธาน


พระจิตกาธาน รองานดอกไม้สดของช่างดอกไม้ เเละการเเทงหยวกร่วมตกแต่ง

ลายประดับผนัง

ลายเชิงผนัง

ลายดอกแก้วกัลยาในพระเมรุ

ลาย ตราประจำพระองค์

ฉากบังเพลิงด้านนี้ ลวดลายเทวดาอัญเชิญเครื่องสูง

พระเมรุด้านล่าง คนงานกำลังตกแต่งลิฟท์สำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิง ตัวนี้จากระดับถนนสู่นอกชานพระเมรุ

ตัวนี้ จากระดับนอกชานพระเมรุสู่ระดับที่ตั้งพระจิตกาธาน

ระดับความสูงที่แตกต่าง

เตาอยู่ด้านทิศตะวันออก ด้านล่างเป็นหอเปลื้องน่ะครับ

ภายในพระที่นั่งทรงธรรมครับ

ดู air conditioning สิครับ


บนพระที่นั่งทรงธรรม เจ้าหน้าที่ได้นำหีบพระศพและพระโกศจันทน์มาตั้งเก็บไว้ชั่วคราว

พระโกศจันทน์

ครอบหีบพระศพ จำหลักลายฉลุลายซ้อนไม้

ด้านบนครอบหีบพระศพครับ

หีบพระศพไม้จันทน์จำลองแบบลวดลายอย่างพระโกศจันทน์ ลงมาที่หีบครับ



ด้านทางเข้า


พระเมรุเป็นลักษณะสถาปัตยกรรม ที่มีชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น ก่อนจะมีเศวตฉัตร ๗ ชั้น

ขยาย

เศวตฉัตร ๗ ชั้น ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยก

หอเปลื้อง
หอเปลื้องตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ตรงมุขหลังของพระเมรุเป็นอาคารขนาดเล็ก ภายในเขต ราชวัติ
หันหน้าเข้าหาพระเมรุ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย มีฝากั้นโดยรอบ หอเปลื้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บ
พระโกศหลังจากได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธานแล้ว และใช้เป็นที่เก็บสัมภาระต่างๆในการพระราชพิธี เช่น ฟืน ดอกไม้จันทน์ ขันน้ำ ซึ่งจะต้องตั้งน้ำสำหรับเลี้ยงเพลิงเวลาเมื่อพระราชทานเพลิง


พระที่นั่งทรงธรรม
พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุภายในเขตราชวัติหน้าพระที่นั่งตรงกับ
มุขทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับทรงธรรมและทรงประกอบ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะฑูตานุทูตเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาท

ภายในพระที่นั่งทรงธรรม เป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์ และธรรมมาสน์ เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและเป็นที่ประทับ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงพักพระอิริยาบถ ซึ่งตรงกับมุขด้านหน้าของพระเมรุ มุขเหนือและใต้เป็นที่สำหรับ ข้าราชการเข้าเฝ้า

ซ่างหรือสำสร้าง
ซ่างหรือสำสร้าง เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์สวดอภิธรรมในงานถวายพระเพลิงพระศพมีจำนวน ๔ หลัง
เป็นการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทย อาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ติดกับแนวรั้วราชวัติ สร้างขึ้นที่มุมทั้งสี่ คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตอนที่ตรงกับมุขด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ของ องค์พระเมรุมาศ ใช้เป็นที่สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ตลอดงานพระเมรุ ตั้งแต่พระโกศพระศพประดิษฐานบน พระจิตกาธาน จนกว่าจะพระราชทานเพลิงเสร็จ คือจะมีพระพิธีธรรม ๔ สำรับ นั่งอยู่ประจำซ่างโดยจะผลัดกันสวด ทีละซ่างเวียนกันไป

ทิม
ทิมเป็นอาคารที่ปลูกสร้างติดกับรั้วราชวัติ ใช้เป็นที่พักข้าราชบริพารและผู้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
มีจำนวน ๖ หลัง อยู่ติดกับแนวรั้วราชวัติตรงกับปลายมุขเหนือและใต้ ของพระที่นั่งทรงธรรม ด้านทิศตะวันออก ๒ หลัง ตั้งทั้ง ๔ ทิศ ด้านเหนือใต้ด้านละ ๑ หลัง ด้านตะวันตกและตะวันออกด้านละ ๒ หลัง ด้านหน้าเปิดโล่ง หลังคาเป็นลักษณะหลังคาปะรำ (หลังคาแบน) อยู่ระหว่างทับเกษตรมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทับเกษตร มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งอยู่ปลายปีกมุขทิศตะวันตกของพระที่นั่งทรงธรรม ๒ หลัง โดยทุกอาคาร หันหน้าเข้าสู่มณฑลพิธี ใช้สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพักและใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมพระศพด้วย

ทิม ด้านหน้า ตรงกลาง

ลายบนเพดานทิม

สุขาครับ toilet

ด้านบนของเกริน มีฐานเลื่อนคล้ายจะไว้รองรับหีบพระศพนะครับ

ด้านบนของมุข เหนือเตาเผา

ฉากบังเพลิง ด้านหน้าลวดลายเทวดาบรรเลงดุริยดนตรี

ลิฟท์ และกลไกระบบไฮโดรลิกครับ

ทับเกษตร
ทับเกษตรเป็นอาคารก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทย มีลักษณะเป็นระเบียงโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาจั่ว เป็นสถานที่สำหรับข้าราชการที่มาฟังสวดพระอภิธรรม ในงานถวายพระเพลิงพระศพ


รั้วราชวัติ กั้นบริเวณขอบเขตปริมณฑลของพระเมรุทั้ง ๔ ด้าน


กินรี" ตัวเป็นนก มีใบหน้าแบบลูกครึ่งไทยฝรั่ง ระบุเป็นการจินตนาการของช่างให้สอดรับกับยุคโลกาภิวัตน์

"นกทัณฑิมา " เฝ้าบรรไดด้านทิศใต้ ลืมบอกไปว่า กินรีเฝ้าบรรไดด้านทิศเหนือ ส่วนด้านตะวันออก เป็นที่ติดตั้งระบบเผาไหม้ และหอเปลื้อง เข้าใจว่าคงจะไม่มีประดับไว้

คุณนางพญามารเมฆไฟครับ (ชื่อน่ากลัวจัง)
ตอน นี้เจ้าหน้าที่ปิดกั้นรั้ว ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มิได้เกี่ยวข้องเข้าไปในปริมณฑลได้ เพราะจะเป็นอุปสรรคในการทำงานอันเร่งรีบนั้นอย่างยิ่ง งานดังกล่าวมีทั้งที่ยังไม่แล้วเสร็จ และที่ต้องซ่อมกันใหม่หลังโดนพายุฝนกระหน่ำเอาหลายวัน ไปเดินถ่ายรูปนอกปริมณฑลได้ แต่อาจไม่คุ้มหากต้องลางาน

นายสาคร โสภา ผู้ชำนาญพิเศษวิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ผู้ออกแบบและเขียนฉากบังเพลิง และศิลปะประดับตบแต่งพระเมรุ กล่าวว่า นักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์จำนวน 20 คนได้เข้าดำเนินการติดตั้งภาพเขียนสีลายดอกแก้วกัลยาประดับผนังด้านในพระ เมรุแล้ว ซึ่งภาพเขียนสีใช้วัสดุเขียนที่เรียกว่าแคนวาส (Canvas) เป็นผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อปิดทองลงแล้วเขียนลายลงไปในลายพื้น ส่วนด้านหลังใช้สีฟ้าสีที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงโปรด ส่วนการประดับผนังจะใช้กาวลาเท็กซ์ชนิดติดพื้นปาเก้เป็นตัวยึด ทั้งนี้ลวดลายที่ใช้ประดับผนังแบ่งเป็น 3 ส่วน คือลายกรวยเชิง ส่วนกลางจะเป็นลายพุ่มก้านแย่ง ดอกแก้วกัลยาอยู่ในพุ่มข้าวบิณฑ์ ด้านล่างจะเป็นลายกรวยเชิง โดยยึดตามแบบคติโบราณที่ประดับฝาผนังทั่วไป

ฉากบังเพลิง แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดแรกด้านหน้าลวดลายเทวดาอัญเชิญเครื่องสูง บรรเลงดุริยดนตรี และยืนเฝ้าพระเมรุ รวม 16 ฉาก ส่วนด้านหลังเป็นลวดลายพุ่มเข้าบิณฑ์และดอกแก้วกัลยา ทั้งนี้ในวันจันทร์ที่ 29 กันยายนนี้จะนำไปประดับประตูทางขึ้นลงพระเมรุ

หนึ่งในจิตรกรของคณะภาควิชาศิลปะไทย วิทยาลัยช่างศิลปลาดกระบัง ทำฉากบังเพลิง

ดูเต็มๆ




Images at night








ในงานพระราชทานเพลิงพระศพครั้งนี้ จะไม่เผาบนจิตกาธานเหมือนอดีตที่ผ่านมา สืบเนื่องจากปัญหา สภาพแวดล้อมและมลพิษในอากาศ กรุงเทพ ธุรกิจ ออนไลน์ : จึงจะใช้เตาเผาพระศพด้วยแก๊ส ซึ่งตั้งอยู่บนพระเมรุด้านทิศตะวันออก ดังนั้น นอกเหนือจากการเขียนฉากบังเพลิง ที่กั้นอยู่ภายนอกของพระเมรุแล้ว ยังจะต้องทำฉากอีกชุดหนึ่งเพิ่มเติม เพื่อกั้นไว้เป็นห้องเตาเผาพระศพอีกด้วย ซึ่งมีขนาดที่โตกว่าฉากบังเพลิง การเขียนลวดลายเทวดาจะเขียนทั้งสองด้านเนื่องจากประตูของฉากบังเตาที่จะต้อง เปิดออกทำให้มองเห็นฉากทั้งสองหน้า

ลวดลายของฉากบังเตาในครั้งนี้ เป็นลวดลายเทวดายืนโดยเป็นภาพของท้าวจตุมหาราชา ซึ่งเป็นอุบัติเทพภพบนสรวงสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นแรกในไตรภูมิเหนือยอดเขายุคนธร เป็นหมู่เทพสี่องค์ที่เป็นบริวารของท้าวสักกะเทวราชหรือพระอินทร์ ทำหน้าที่ปกป้องอารักขาประจำทิศทั้งสี่ ดังนี้ 'ท้าวเวสสุวัณ' หรือ 'กุเวร' เป็นอธิบดีของเหล่ายักษ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศเหนือ ในการออกแบบเขียนภาพครั้งนี้จะไม่ใช้ภาพใบหน้ายักษ์โดยตรง แต่จะเป็นยักษ์แปลงเป็นใบหน้าแบบเทพ แต่มีลักษณะหน้าที่ดูขึงขังและดุ ถืออาวุธกระบองหรือคฑา ผิวกายสีขาว ทรงอาภรณ์อย่างเทวดา

'ท้าวธตรฐ' เป็นอธิบดีของเหล่าคนธรรพ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศตะวันออก พระหัตถ์ถือพระขรรค์เงิน ทรงพัตราภรณ์อย่างเทวดา 'ท้าว วิรุฬหก' เป็นอธิบดีของเหล่ากุมภัณต์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศใต้ สีกายขาวผ่อง พระหัตถ์ถือบ่วงบาศและคันศร ทรงพัตราภรณ์อย่างกษัตริย์ประดับด้วยไข่มุก

'ท้าววิรูปักษ์' เป็นอธิบดีของเหล่านาค มีหน้าที่อารักขาประจำทิศตะวันตก พระหัตถ์ถือพระขรรค์ สีแก้วประพาฬ ลวด ลายในช่องบนและช่องล่างของฉากบังเตาจะเป็นลวดลายกระหนกประกอบลายดอกไม้ ประดิษฐ์ดอกแก้วกัลยา เช่นเดียวกันกับฉากบังเพลิงแต่เป็นลวดลายที่คิดประดิษฐ์ออกแบบขึ้นใหม่ไม่ ซ้ำกับลวดลายฉากบังเพลิง โดยใช้โทนสีของภาพด้านหน้าสีน้ำเงินและด้านหลังจะเป็นโทนสีแดงเหมือนฉาก บังเพลิง

ในการออกแบบเขียนฉากบังเพลิงและฉากบังเตาในงานพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ครั้งนี้ เป็นการแสดงความจงรักภักดี เป็นบททดสอบบทหนึ่งของชาวไทยในยุคสมัยนี้ที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ว่ามี ความรอบรู้ในงานศิลปกรรมไทยทุกแขนง และยังคงยึดถือขนบนิยมแบบแผนดั้งเดิมตามคติความเชื่อแต่โบราณเอาไว้ รวมทั้งสร้างสรรค์ให้เข้ากับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง ได้งดงามสมบูรณ์ เฉกเช่นช่างไทยแต่ครั้งบรรพบุรุษทุกประการ

ลายฉากบังเพลิงครับ

แบบร่างพระเมรุ

๏ งามเอยงามองค์
วิสสุกรรมบรรจงประดิษฐ์ศิลป์
วิมานทิพย์เทวาราชนารินทร์
แก้วกัลยาแผ่นดินประทินเรือง

ประดับสวรรค์อุทยานตระการโฉม
ขลังประโคมแสงงามอร่ามเหลือง
ชลอแดนดุสิตาลงมาเมือง
ปลาบประเทืองเปลวทิพย์ระยิบระยับ

พระเมรุทองก่องทาบทั้งเจ็ดยอด
แลตลอดลายตลบก็ครบสรรพ
นิรมิตหิมพานต์ตระการรับ
เด่นประดับดอกฟ้าจุฬามณี

กินนรนรสิงห์ทัณฑิมา
เทวดาเรียงสลับอัปสรสีห์
บังคมรอบสุเมรุสินธุ์กินรี
เจ็ดแผ่นหล้าธาตรีไม่มีเทียม

บานเครื่องสูงบังทรงบังสูรย์แทรก
ฉลุแฉกลายรองสิบสองเหลี่ยม
ราชวัตรฉัตรธงผจงเจียม
จะตระเตรียมส่งฟ้าสุราลัย

ทั้งรอบทิมทิวธงบรรจงแต่ง
หอเปลื้องแปลงมุขเด็จเสด็จไหน
เสด็จสวรรค์ชั้นดุสิตดวงจิตไทย
จะขาดไปตามองค์พระทรงบุญ

ศาลารายทับเกษตรเขตพำนัก
ประดับเครื่องทองหักเป็นหลักหนุน
เทพพนมยืนรายลายทองดุน
คารวะการุณพระคุณพระองค์

แลยอดขาวราวฉัตรทั้งเจ็ดชั้น
ขลิบเครื่องทองผ่องพรรณสุวรรณหงส์
กนกเปลวก้านแย่งแข่งอรองค์
ตรีศูลทาบเบญจรงค์ประจำยาม

ส่งเสด็จนิวัติสวรรค์ครรไลฟ้า
ด้วยบุญญาเพริศแพร้วดวงแก้วสาม
อุทยานวิมานทิพย์ระยิบวาม
มิเท่างามน้ำพระทัยเพื่อไทยเทอญ๚๛

มีเรื่องชี้แจงบางประการ สืบเนื่องจากบางข้อความข้างบนครับ

1. ที่ว่าพระเมรุประดับด้วยกระดาษทองย่นนั้น ที่จริงเป็น"ผ้าทองย่น"นะครับ
เพราะกระดาษทองย่นที่ใช้กันมาแต่เดิมซึ่งเป็นของนำเข้าจากจีนนั้น ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว
จึง ได้มีการหาวัสดุที่มีลักษณะใกล้เคียงมาทดแทน ซึ่งก็ได้ผ้าทองย่นมาดังนี้ครับ ซึ่งจุดเด่นของวัสดุตัวนี้ที่ดีกว่ากระดาษทองย่นก็คือ ทนฝนครับ

2. หน้าตาของอาคารประกอบต่างๆนั้น สามารถออกแบบได้ใหม่อย่างหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมครับ
อย่าง"ทับเกษตร" ซึ่งคราวสมเด็จย่า เป็นอาคารหลังคาจั่วนั้น คราวนี้เป็นหลังคาปะรำ
แต่ ที่มีฉัตรขาวนั้น เพราะห้องตรงกลางนั้นกำหนดให้ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ครับ ผู้ออกแบบจึงให้มีฉัตรขาวอยู่ด้านบน พร้อมทั้งมีฉัตรกลีบบัว5ชั้นเป็นบริวาร

3. รูปบางรูปที่โพสไปนั้น ในระดับหนึ่งแล้ว ผู้ที่คลุกคลีและร่วมงานอยู่ในงานพระเมรุจะเข้าใจตรงกันว่า ถ่ายเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาได้ แต่ไม่เหมาะที่จะเผยแพร่ในสื่อสาธารณะนัก อาทิ รูปเตาเผาพระศพ เป็นต้นครับ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตามไปควบคุมผู้ขออนุญาตเข้าชมทุกฝีเก้า ดูจะเกินไปหน่อย
หากถือว่าเพื่อการศึกษา และไหนๆก็โพสไปแล้ว ก็แล้วกันไปครับ แต่ผมดูแล้วไม่ค่อยสบายใจติ๊ดนึง

4. อ้อ "ฉากบังเตา"ที่ว่า ซึ่งอยู่ด้านในพระเมรุ ปัจจุบันเราเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า "ฉากบังเพลิงชั้นใน"ครับ
ตอนแรกที่มีการเรียกว่า"บังเตา"นั้น เป็นการเรียกกันพอเป็นที่เข้าใจครับ แต่ผู้ออกแบบท่านว่าฟังดูพิลึก ให้เรียกว่าบังเพลิงชั้นใน
ส่วนฉากที่อยู่หน้ามุขทิศตะวันออกหรือด้านที่มีหอเปลื้องนั้น ยังคงให้เรียกว่า"ฉากบังเพลิง"ครับ


ยี่สิบตุลาคมอุดมสวัสดิ์
พระเสด็จยกฉัตรประภัสสร
ขึ้นสู่ยอดพระเมรุพราวราวอัมพร
แห่งสมเด็จพระโสทรเชษฐภคิณี

พระเมรุงามรามเรืองเครื่องประดับ
สอดสลับกาญจนาสง่าศรี
คือพระเกียรติก่องกล้าธาษตรี
พระบารมีแผ่ไปในสากล

น้อมรำลึกพระคุณอุ่นเหนือเกศ
สุดวิเศษเรืองรองมิหมองหม่น
งานพระเมรุโอภาสวิลาสล้น
ประชาชนเฝ้าแหนกันแน่นเนือง

พระนามย่อ “ก.ว.” ยังปรากฏ
อยู่เหนือทวารบทงามฟุ้งเฟื่อง
เพดานดาวระดารุ่งปรุงประเทือง
เรืองเรืองด้วยเพชราภรณ์

หิมพานต์พร่างพร้อยสัตว์น้อยใหญ่
เรียงไล่สอดสลับประดับสลอน
คชสีห์ทัณฑิมาอีกกินนร
ปวงอัปสรสีหะกินรี

โอ่อ่ามโหฬาร์สถาปัตย์
คือสมบัติชาติไทยวิไลศรี
เทิดถวายหมายเป็นราชพลี
แด่พระเชษฐภคิณีจักรีวงศ์



ธ เสด้จสู่สวรรคาลัย ทรงสถิตใจไทยนิรันดร์

ThaiChicagoland.com


No comments: