Tuesday, August 11, 2009

Mai and P'Bird in Special GMM 25th Year



*Bonus article at end of this photo album*
- American Citizen for Thai people





































































______________________________________________________

อเมริกันชั้นสอง (1)
by พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์7/9/2552

ในช่วงที่ผ่านมา ผมได้รับคำถามถึงการสถานะของการดำรงชีพของพี่น้องคนไทยในอเมริกาจากเพื่อนฝูงที่เมืองไทยว่า พวกเราที่นี่อยู่กินกันอย่างไร แถมบังคับให้ตอบแบบจริงๆ ไม่มีสิ่งปลอมปน ที่หมายถึงการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำมาหากิน
การถือครองสองสัญชาติ ก็เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเฉกเช่นเดียวกัน
ผมไม่ใช่นักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ จึงไม่ทราบว่า ระหว่างอเมริกากับไทย ประเทศใด ให้สิทธิในเรื่องสองสัญชาติมากกว่ากัน
เมื่อลองอ่านแบบฟอร์มที่ต้องกรอกหากจะสมัครเป็นพลเมืองอเมริกัน (Application for Naturalization หรือ N-400) หรือที่มักเรียกทับศัพท์กันที่อเมริกาว่า อเมริกันซิติเซ่น (American Citizen)นั้น ระบุให้เพียงแค่กรอก(ใส่)สัญชาติ หรือที่มาก่อนหน้าการยื่นแปลงสัญชาติไว้ด้วยเท่านั้น
พูดง่ายๆ คืออเมริกาไม่ค่อยแคร์ว่าใครจะถือสัญชาติอะไรมาก่อน และจะถือสัญชาตินั้นต่อไปหรือไม่ เมื่อเข้าพิธีสาบานตนเป็นพลเมืองอเมริกันแล้วก็ได้รับสิทธิเหมือนดังพลเมืองอเมริกันทุกคนได้รับ “แทบไม่มีข้อยกเว้น” ไม่ว่าจะมาจากมุมใดของโลก
ที่ผมต้องพูดว่า “แทบไม่มีข้อยกเว้น”นั้น เผื่อกรณีที่กะเหรี่ยงต่างด้าวบางคน หลังจากเปลี่ยนสัญชาติแล้ว คิดอยากจะลงเล่นการเมืองในอเมริกา เช่น อยากลงสมัครส.ส. (House of representative ) ส.ว.(Senator)หรือผู้ว่าการรัฐ(Governor) ซึ่งก็ต้องบอกว่า ไม่สามารถกระทำได้ ที่บุคคลผู้แปลงสัญชาติแล้วเหล่านี้ ไม่สามารถลงสมัครในตำแหน่งเหล่านี้ได้ กฎหมายอเมริกันไม่อนุญาตให้ทำได้ โดยกำหนดว่า จะต้องเป็นพลเมืองที่เกิดที่อเมริกาเท่านั้น
นับแต่คนไทยเข้ามาปักหลักทำมาหากินที่อเมริกา ทำให้ชุมชนขยายใหญ่มกว่าเดิมมาก เพื่อความสะดวกในการทำมาหากิน และผลประโยชน์ตลอดถึงสิทธิต่างๆที่พึงจะได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในอเมริกาหรือกระทั่งในต่างประเทศ คนไทยส่วนหนึ่งจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสัญชาติเป็นสัญชาติอเมริกัน
ความจริงถึงแม้คนเหล่านี้จะเปลี่ยนสัญชาติไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นคนไทยอยู่วันยังค่ำ หลายคนยังคิดแบบไทย กินอยู่แบบไทย และที่สำคัญพูดภาษาไทยเป็นหลัก ภาษาอังกฤษเป็นรอง บางคนพูดไม่ค่อยได้เสียด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านี้บางคนพูดฝรั่งไม่ได้เลย เพียงแต่สถานะตามกฎหมายเท่านั้นที่ระบุว่า เป็นพลเมืองอเมริกัน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า มีพลเมืองอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้อยู่เป็นจำนวนมาก คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อายุเกิน 50 ปี และอาศัยอยู่ในอเมริกาแบบมีใบเขียวไม่ต่ำกว่า 15 หรือ 20 ปีตามที่กฎหมายให้สิทธิ์สามารถใช้ล่ามในการสอบเป็นยู.เอส.ซิติเซ่นได้
คนที่จะยื่นสมัครสอบเป็นอเมริกันซิติเซ่น โดยทั่วไปจะต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายที่กระทรวงความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security) กำหนด คือต้องถือกรีนการ์ด(Green Card) หรือใบเขียวมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี อีกกรณีที่สามารถยื่นสมัครขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันได้ คือ ผู้ยื่นสมัครต้องถือกรีนการ์ดครบ 3 ปี และต้องอยู่ในช่วงแห่งการสมรสกับคู่สมรสคนเดียวกันไม่ต่ำกว่า 3 ปี และคู่สมรสต้องเป็นอเมริกันซิติเซ่นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
คำว่ากรีนการ์ดที่นิยมเรียกทับศัพท์กันนั้น มาจากคำเต็มว่า Permanent residence card หรือผู้มีถิ่นฐานถาวรในอเมริกา
แหละนี่เป็นกฎของการสมัครเป็นพลเมืองอเมริกันโดยคร่าวๆ อาจมีรายละเอียดมากกว่านี้ ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านได้ในหนังสือด้านอิมมิเกรชั่นของอเมริกา หรือเว็บไซท์ของ U.S. Citizenship and Immigration Services เรียกย่อว่า USCIS ที่เว็บแอดเดรส
www.uscis.gov ดูเหมือนวิธีการนี้สะดวกสำหรับคนทั่วไปที่สนใจมากที่สุด ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการเข้าไปหาข้อมูล ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมาก
เว็บไซท์ที่ว่านี้ เป็นของทางการอเมริกัน สามารถเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เหมือนหลายเว็บไซท์เพื่อการค้าจำนวนมากที่มีอยู่ในขณะนี้ มักหลอกคนเข้าเว็บให้ตกเป็นเหยื่อทางการค้า ซึ่งต้องระมัดระวังกันเอาเอง
อย่างเช่น เว็บไซท์ที่นำเสนอในเรื่องการยื่นสมัครเพื่อขอกรีนการ์ดแบบล็อตโต้ (Lotto Green card) บางเว็บฯเรียกเงินค่าบริการ เห็นมีโฆษณาอยู่มากในระบบออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต้องระวังอย่างยิ่ง การชิงโชคล็อตโต้กรีนการ์ด ความจริงแล้วสามารถกรอกฟอร์มได้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน ที่สถานทูตและสถานกงสุลอเมริกันในแต่ละประเทศที่รัฐอเมริกันมีโควต้าล็อตโต้ให้มีฟอร์มเหล่านี้ให้ฟรี รวมทั้งที่เมืองไทยเอง
ความจริงแล้ว การเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันไม่ใช่เป้าหมายของคนไทยในอเมริกาทุกคน หลายคนไม่อยากเปลี่ยนก็มี เพราะกลัวเสียสิทธิที่เมืองไทยบางประการ เช่น กรรมสิทธิ์การถือครองอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน ที่ทางการไทย กำหนดให้คนต่างด้าวถือครองไม่ได้แบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องมีหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์เป็นคนไทยรวมอยู่ด้วย ไม่ก็มีคู่สมรสเป็นคนไทย
ฝรั่งหลายคนที่ซื้อบ้านหรือที่ดินที่เมืองไทย ส่วนใหญ่จึงมีสามีไม่ก็ภรรยาเป็นคนไทย แต่กระนั้นก็ยังไม่ได้สิทธิโดยบริบูรณ์อยู่ดี ตราบที่ยังไม่ได้เป็นไทยซิติเซ่น หรือโอนสัญชาติเป็นคนไทย
ในกรณีคนไทยดั้งเดิม (เชื้อชาติและสัญชาติไทย) แม้เปลี่ยนสัญชาติแล้ว แต่ฝ่ายไทยอนุโลมในเรื่องกรรมสิทธิ์การครอบครองอสังหาริมทรัพย์หากสามารถมีหลักฐานพิสูจน์ความเป็นคนไทยได้
แต่สำหรับอเมริกาแล้ว หากใครมีกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน หรือประเภทอื่นๆไม่ว่าจะเป็นต่างด้าว หรือไม่ก็ตาม สามารถทำได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีเงิน และมั่นใจว่า รับผิดชอบในการถือครองทรัพย์สินนั้นได้ เรื่องนี้โยงไปถึงหลักประกันที่จะสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในการดำรงชีพที่อเมริกา นั่นคือ บุคคลนั้นจะต้องมีกรีนการ์ด ไม่ก็ผู้ถือครองนั้น(อาจ)ต้องเป็นอเมริกันซิติเซ่น
ทั้งๆที่เรื่องพวกนี้ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายถือครอง หรือกรรมสิทธิ์ใดๆของอเมริกาเลย แค่เป็นหลักประกัน ในการใช้ชีวิตอย่างถาวรหรือระยะหนึ่ง รวมทั้งความสะดวกในการผ่านเข้าออกประเทศเท่านั้น ขณะที่คนจากหลายประเทศในภูมิภาคต่างๆที่ไม่มีสนธิสัญญาด้านวีซ่ากับรัฐบาลอเมริกัน โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมักมีปัญหาเรื่องวีซ่าเข้าเมืองอยู่เสมอ
สถานกงสุลอเมริกันประจำแต่ละประเทศออกวีซ่าให้ยากมาก กลายเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว และดูเหมือนจะยากมากขึ้น แม้รัฐบาลอเมริกันมักจะบอกตบท้ายด้วยประโยคที่ว่า We believe in secure borders and open doors อยู่เสมอ แต่ดูเหมือนแนวทางที่กำลังเป็นไป คืออเมริกากำลังจะ close doors มากขึ้นเรื่อยๆ
ผมเห็นคนไทยที่ต้องการคงไว้ซึ่งสถานะการมีใบเขียวมีอยู่เพียงน้อยคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เมื่อได้โอกาสตามกฎหมายกำหนดมักเปลี่ยนสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน
ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอเมริกา เพียงต้องการดำรงตัวอย่างกลมกลืนกับระบบอเมริกัน โดยเฉพาะระบบกฎหมายเท่านั้น ในส่วนเนื้อในแท้ของพวกเขา ก็คือ คนไทย วันยังค่ำ ไม่แปรสภาพไปไหน ทั้งสังขาร และระบบความคิด
ผมจึงเห็นคนไทยส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอเมริกาไปนานๆจนได้กรีนการ์ด มักดำเนินการแปลงสัญชาติ ของตน แต่หลายคนก็คาดหวังถึงการสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่เมืองไทยได้เหมือนคนไทยปกติโดยทั่วไป
บางคนอาจไม่รอจนกระทั่งเกษียณ หรือบางคนอาจรอเกษียณก่อน แล้วแต่จะวางแผนชีวิตกันไว้อย่างไร ซึ่งหากเกษียณที่เมืองไทย(หรือที่ประเทศใดก็ตาม) ก็จะได้รับเงินก้อนหนึ่งที่เรียกกันว่า เงินสำหรับรีไทร์เมนท์ (Retirement money) เป็นเงินที่พลเมืองอเมริกันผู้ที่เคยทำงานมาก่อนเกิน 10 ปีขึ้นไป ได้รับเมื่อถึงครบอายุรีไทร์ขั้นต่ำตามที่กำหนดตามกฎหมาย สำนักงานประกันสังคม (Social Security office)อเมริกัน จะจัดส่งไปให้รายเดือน เข้าบัญชีธนาคารเป็นประจำตลอด จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ไม่ว่าพลเมืองอเมริกันคนนั้นจะอยู่ในประเทศใดในภูมิภาคของโลก
อาจมีข้อยกเว้นในบางประเทศที่รัฐบาลอเมริกันไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูต หรือไกลโพ้นจนเกินเหตุ การติดต่อสื่อสารเต็มไปด้วยความยากลำบากเท่านั้น
Source: Siamrath.co.th

No comments:

Post a Comment

Please sign our guest book showing your visit and feel free to leave any notes or comments.