S.O.S. or Save Our Sea is an awesome non-profit organization that was founded in Thailand for the purpose of preserving of marine life and is concentrating its efforts on endangered species, oceans and waterways.Their mission involves education, awareness, and protection.
Source: www.saveoursea.net
View more than 50 beautiful pictures from the ocean floor below
โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ
โครงการเพาะพันธุ์หอยมือเสือ และการปล่อยหอยมือเสือเพื่อให้แพร่ลูกแพร่หลานให้เต็มท้องทะเลไทย โดยมีหอยมือเสือ จำนวน 100 ตัว และปลาทะเลสวยงามรวม 665 ตัว
* In 1993, Coastal Fisheries Research and Development Bureau was the organization which succeeded in giant clam breeding, as it led the “Giant Clam Sponsor parent Project”. This project provided Tridacna Squamosa for Andaman and Gulf of Thailand race. the first breeding was finished on 15-16 November,2007
* The first giant clams were released to the coral of Andaman Sea at the age of 2.5 years (measured as much as 4-6 cms). Then we moved them to Honeymoon Island (Maiton Island) to take care until 1-1.5 year or becoming 14-15 cms long. Then it was ready to bring them back to the sea.
* Name; Thai : หอยมือเสือ
* Name; English : Giant Clam
* Binomial Name : Tridacnidae
* Description : The shell is extremely thick and lacks bony plates; when viewed from above; each valve has four to five inward facing triangular projections. The mantle of the clam is visible between the two shells, and is a golden brown, yellow or green, although there may be such an abundance of small blue-green circles that the overwhelming impression is of a beautiful iridescent color.
* Habitat : Normally, we can find off the coral reef especially in the Great Barrier Reef. They lie with the hinge downward in the coral reefs, usually in shallow water.
* Feeding : Giant clams achieve their enormous proportions by consuming the sugars and proteins produced by the billions of algae that live in their tissues.
View more than 50 beautiful pictures from the ocean floor below
โครงการปล่อยหอยมือเสือคืนสู่ธรรมชาติ
โครงการเพาะพันธุ์หอยมือเสือ และการปล่อยหอยมือเสือเพื่อให้แพร่ลูกแพร่หลานให้เต็มท้องทะเลไทย โดยมีหอยมือเสือ จำนวน 100 ตัว และปลาทะเลสวยงามรวม 665 ตัว
“Giant Clam Sponsor parent Project”
Preservation Project of Department of Fisheries
Preservation Project of Department of Fisheries
* In 1993, Coastal Fisheries Research and Development Bureau was the organization which succeeded in giant clam breeding, as it led the “Giant Clam Sponsor parent Project”. This project provided Tridacna Squamosa for Andaman and Gulf of Thailand race. the first breeding was finished on 15-16 November,2007
* The first giant clams were released to the coral of Andaman Sea at the age of 2.5 years (measured as much as 4-6 cms). Then we moved them to Honeymoon Island (Maiton Island) to take care until 1-1.5 year or becoming 14-15 cms long. Then it was ready to bring them back to the sea.
* Name; Thai : หอยมือเสือ
* Name; English : Giant Clam
* Binomial Name : Tridacnidae
* Description : The shell is extremely thick and lacks bony plates; when viewed from above; each valve has four to five inward facing triangular projections. The mantle of the clam is visible between the two shells, and is a golden brown, yellow or green, although there may be such an abundance of small blue-green circles that the overwhelming impression is of a beautiful iridescent color.
* Habitat : Normally, we can find off the coral reef especially in the Great Barrier Reef. They lie with the hinge downward in the coral reefs, usually in shallow water.
* Feeding : Giant clams achieve their enormous proportions by consuming the sugars and proteins produced by the billions of algae that live in their tissues.
โครงการเก็บขยะในทะเล
วัตถุประสงค์ S.O.S.
จากกลุ่มนักดำน้ำเล็กๆเพียงไม่กี่คนแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและปณิธานที่แรงกล้า นักดำน้ำกลุ่มนี้จึงได้ร่วมกันเปิดบ้าน www.SaveOurSea.net หรือ SOS ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ
1. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทะเลโดยผ่านกระดานข่าวของ SOS การจัดทำสื่อรณรงค์ อาทิ โปสเตอร์ นิทรรศการ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ และการให้ความรู้ด้วยวาจาผ่านไปทางญาติสนิทมิตรสหาย
2. เพื่อรณรงค์ให้เกิด แนวร่วม ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือและขยายกิจกรรมในการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้ กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เพื่อจะให้ SOS เป็น ส่วนหนึ่งของ “เครือข่าย” ซึ่งจะเป็นจุดรวมของทั้งภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐ และนักวิชาการ ในการร่วมสร้างสายใยและจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลให้เกิดขึ้น กับผู้คน ทั้งที่เป็นนักดำน้ำและไม่ใช่นักดำน้ำ อนุชนคนรุ่นเยาว์ และประชาชนทั่วไป
4. เพื่อให้สมาชิกของ SOS ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ทะเลไทย ทั้งในส่วนที่ SOS ได้จัดขึ้นเอง และร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานอื่นๆได้จัดขึ้น
5. ให้ความรู้ด้านเทคนิคและวิชาการเกี่ยวกับการดำน้ำ ซึ่งจะทำให้การดำน้ำเป็นกีฬาที่มีความปลอดภัย นักดำน้ำมีความสุขและสนุกสนานในการดำน้ำเพิ่มมากขึ้น
6. สมาชิก SOS ได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญสาธารณกุศลอื่นๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้สังคมไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
____________________________________________________________
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง ชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ (ผอ.จินตนา นักระนาด หรือ แม่หอย ของพวกเราชาว SOS) และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง พังงา (ผอ.สุทธิชัย ฤทธิธรรม ) เดินทางมาถึงด้วยเรือตรวจการลำเล็กของกรมประมง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของทั้งสองศูนย์ฯ โดยมีหอยมือเสือ จำนวน 100 ตัว และปลาทะเลสวยงามรวม 665 ตัว เดินทางมาถึงเกาะ 4
เมื่อทุกอย่างพร้อม .....ท่านผอ. แม่หอย เริ่มต้นกล่าวถึงที่ไปที่มาของโครงการเพาะพันธุ์หอยมือเสือ และการปล่อยหอยมือเสือเพื่อให้แพร่ลูกแพร่หลานให้เต็มท้องทะเลไทย เพื่อให้ท่านหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน (คุณประยูร ศรีสุวรรณ) และผู้ร่วมงานทุกท่านได้รับทราบ และได้มอบหอยมือเสือให้กับท่านหัวหน้าอุทยานฯ เพื่อส่งมอบให้ตัวแทน SOS นำไปปล่อย
จากนั้น...ท่านผอ. ศูนย์ฯ พังงา ก็มอบพันธุ์ปลาทะเลสวยงามที่เพาะเลี้ยงโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ให้กับท่านหัวหน้าอุทยานฯ เพื่อมอบให้ตัวแทน SOS นำไปปล่อย
ผู้ร่วมงานทุกคน...ทุกหมู่เหล่า....ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก
หลังจากบรรยายสรุปถึงวิธีการปล่อยหอยมือเสืออย่างถูกวิธีโดยแม่หอยแล้ว... ก็ถึงเวลาปล่อยหอยแล้วค่ะ.....
หอยมือเสือถูกลำเลียงไปวางใต้ท้องทะเลโดยอาสาสมัคร SOS....จ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ ประจวบ และ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ สิมิลัน
กองตะกร้าหอย ที่พร้อมจะถูกนำไปปล่อย....
เมื่อพร้อมแล้ว.....นักดำน้ำเริ่มจับคู่เพื่อช่วยกันถือตะกร้าหอยที่หนักอึ้ง นำไปปล่อยในที่ที่เหมาะสม
ลีลาการปล่อยหอยอย่างถูกวิธี....
ยิ่งห้อยหัว...ยกขาสูง....เป็นปลาไม้จิ้มฟันจระเข้ปีศาจอย่างนี้ได้ยิ่งดีเลยล่ะค่ะ....
การผูกแท็คของทีมแม่หอย....
ถ่ายภาพหอยที่ปล่อย...
จดบันทึกรายละเอียด....
หอยมือเสือที่ถูกนำไปปล่อย....สวยงามอย่างนี้...
น่ารักอย่างนี้...
หอยมือเสือยิ้มหวาน.....
ทั้งคนเพาะพันธุ์ และ คนปล่อยหอยมือเสือก็ยิ้มหวานด้วยความสุขใจ......
การปล่อยหอย 100 ตัว ที่สิมิลัน สำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยดี
เรากลับขึ้นเรือ เพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวปล่อยปลาในไดฟ์ต่อไป...
เราขึ้นมาพักทานอาหารกลางวันและพักผ่อนราวชั่วโมง กว่าๆ ก็เตรียมตัวลงดำน้ำปล่อยปลาที่ได้รับการอนุเคราะห์จากศูนย์วิจัยและพัฒนา ประมงชายฝั่ง พังงา จำนวน 665 ตัว
สำหรับปลาสลิดทะเลและปลาสลิดหิน เหลืองมะนาวนั้น เราช่วยกันนำถุงใส่ปลาหิ้วลงไปทั้งถุง ส่วนปลาการ์ตูนทั้งสามชนิดนั้น เราต้องนำมาแบ่งใส่ในถ้วยพลาสติกแล้วใส่ถุงอีกทีเพื่อจะนำไปปล่อยตามกอดอก ไม้ทะเลได้สะดวก
ใต้ทะเลบริเวณเกาะหกด้านเหนือที่เรานำปลาลงไปปล่อย นั้นเป็นแนวปะการังแข็งที่เคยถูกคลื่นยักษ์สึมามิถล่ม จนได้รับความเสียหายอย่างหนักเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เมื่อเราดำน้ำลงไปพบว่ามีการฟื้นตัวของแนวปะการังราวร้อยละ 60-70 ปะการังที่ขึ้นใหม่ส่วนมากจะเป็นปะการังกิ่ง ปะการังไฟ และปะการังสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ มีปลาตัวเล็กๆที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังอยู่มากพอควร....
ดงปะการังไฟที่กำลังขยายกิ่งก้านไปทั่วบริเวณ....
การปล่อยปลาสลิดทะเลและสลิดหินเหลืองมะนาวนั้น ทำได้ง่าย เพราะเพียงเปิดปากถุงไว้ใกล้ๆแนวปะการัง ปลาก็ออกจากถุงและว่ายไปหลบในแนวปะการังทันที
ปล่อยปลาสลิดทะเลกับปลาสลิดหินเหลืองมะนาวไปแล้ว ที่นี้ก็ต้องตามหาดอกไม้ทะเล เพื่อปล่อยปลาการ์ตูนต่อไป.....
ดอกไม้ ทะเลในบริเวณนี้มีน้อยมาก ที่มีอยู่ก็มีเจ้าของจับจองอยู่แล้ว เราจึงต้องว่ายหาดอกไม้ทะเลกันให้วุ่นวาย ท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลแรงปานกลาง แต่ค่อนข้างจะแปรปรวน คือไหลกลับไปกลับมาตลอดเวลา เอาแน่เอานอนไม่ได้....
ดอกไม้ทะเลที่มีอยู่ ส่วนมากอยู่ในจุดที่มีปะการังแข็งที่สวยงามและสมบูรณ์ตั้งอยู่ จึงยากที่จะเข้าไปปล่อยปลาการ์ตูน โดยไม่ไปทำให้ปะการังแข็งเหล่านั้นต้อง หักเสียหาย เราจึงเลี่ยงที่จะปล่อยปลาในบริเวณดังกล่าว
บางจุดที่สวยงามและสมบูรณ์ มีปลาที่หายาก เช่น ปลาสร้อยนกเขาอันดามัน Andaman Sweetlips อาศัยอยู่....
เมื่อพบดอกไม้ทะเลที่ไม่มีเจ้าของจับจอง เราจึงดีใจกันมาก และรีบพาปลาการ์ตูนลงไปปล่อย....
แต่ สงสัยว่าปลาการ์ตูนจะไม่ค่อยชอบอยู่บ้านสวยๆอย่างดอกไม้ทะเล จึงไม่ยอมออกจากถ้วยสักที ในที่สุดต้องค่อยๆต้อนปลาออกจากถ้วย แต่พอออกจากถ้วยได้ ปลาการ์ตูนก็ว่ายหนีไปอยู่ใต้แนวปะการังหมด.....
เล่นเอาคนปล่อยปวดหัวไปตามๆกัน.....
เวลาผ่านไปเกือบชั่วโมง.....ปลาการ์ตูนยังเหลืออีกหลายถ้วย เราต้องตามหาดอกไม้ทะเลต่อไป... เราว่ายไปจนสุดเขตแนวปะการัง......
แล้วก็ว่ายวนกลับเข้ามาในแนวปะการังใหม่.....
อากาศใกล้จะหมดกันแล้ว....
นั่นไง....ที่ลานหินกลางดงปะการังเขากวาง มีกอดอกไม้ทะเลอยู่สองกอ
เรารีบตรงดิ่งเข้าไป เพื่อปล่อยปลาที่เหลืออยู่ทั้งหมด.....
ตรงซอกปะการัง....มีดอกไม้ทะเลอีกกอหนึ่ง ต้องอาศัยผู้ที่มีการลอยตัวดี ลงไปปล่อยปลาการ์ตูน.....
เข้าใจว่า....ปลาการ์ตูนที่เพาะเลี้ยงจากศูนย์ฯ พังงานั้น คงไม่ค่อยคุ้นเคยกับดอกไม้ทะเลนัก จึงไม่ค่อยชอบอาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเล
หาก คราวหน้าเรานำปลาจากศูนย์ฯ พังงา มาปล่อยอีก....เราคงไม่ต้องหาดอกไม้ทะเลให้เหนื่อยอีกแล้ว เราจะปล่อยให้อยู่ในแนวปะการัง เหมือนกับปลาตัวเล็กตัวน้อยที่อาศัยอยู่ในกอ ปะการัง จำพวกปลาสลิดหิน (Damselfish) หรือ ปลากะรังจิ๋ว (Basslet) ที่เราเห็นอยู่มากมายในบริเวณแนวปะการัง.....
การดำน้ำทำงานในไดฟ์นี้.....เราใช้เวลา 80 นาที กว่าจะปล่อยปลาได้หมด เล่นเอาเหนื่อยและอ่อนเพลียไปตามๆกัน....
ก่อนจะขึ้นสู่ผิวน้ำ....เราได้เห็นหอยมือเสือ ธรรมชาติ พันธุ์ T. Squamosa ที่สีสันและลวดลายสวยงาม ขนาดใหญ่กว่าฟุต ตั้งอยู่บนปะการังโขด ทำให้เราพอจะยิ้มได้อย่างดีใจและชื่นใจ.....
จากการดำน้ำทำงานที่สิมิลันในวันแรก.... เราได้ออกเดินทางขึ้นไปทางเหนือ เพื่อดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนที่เกาะบอน เกาะตาชัย กองหินริเชลิว และดำน้ำสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือที่เราปล่อยไว้ที่เกาะสุรินทร์
จาก นั้น....ในวันสุดท้ายของการดำน้ำทำงาน เราได้ย้อนกลับมาดำน้ำที่หมู่เกาะสิมิลันอีกครั้ง.....โดยเรามีโอกาสได้ดำ น้ำเพื่อเก็บขยะและตัดอวนที่หมู่เกาะสิมิลันอีกเพียง 2 ไดฟ์ คือที่ หินหัวกระโหลก (Elephant Head Rock) และที่ด้านตะวันตกของเกาะ 7 ที่เรียกกันว่า West of Eden
ที่ หินหัวกระโหลก.....น้ำทะเลราบเรียบ และใสแจ๋ว จนเห็นได้ไกลกว่า 30 เมตร กระแสน้ำแทบไม่มี ทำให้เรารู้สึกเหมือนล่องลอยอยู่กลางอวกาศ...
ส่วนคนที่เพิ่งกระโดดลงมาจากเรือ และมุดน้ำลงมา คงจะมองเห็นพวกเราที่ดำน้ำอยู่ลึกเกือบ 30 เมตร ได้ชัดแจ๋ว.....
หินหัวกระโหลกมีซอกหินและโพรงถ้ำให้มุดเข้ามุดออกมากมาย.....
แต่ระวังไว้หน่อยก็ดีนะคะ.....เพราะน้ำใสๆอย่างนี้ บางทีก็เผลอไปมุดโพรงถ้ำที่ลึกเกินไป แถมเพลิดเพลินชมความงามนานเกินไป จนอาจมีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดจากการดำน้ำ และอากาศอาจจะหมดได้อย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว.....
หินหัวกระโหลก ที่เคยได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิจนหมดความงามไปพักหนึ่งนั้น มาบัดนี้ฟื้นคืนตัว กลับมาสวยงามดังเดิม.....
ที่น่าดีใจ.....กัลปังหาที่เราเคยช่วยชีวิตไว้ กลับมางดงามสมบูรณ์ยิ่งกว่าช่วงก่อนเกิดสึนามิ...
กัลปังหาบางต้น....ออกลูกออกหลาน ขยายพันธุ์จนจะกลายเป็นดงกัลปังหาในไม่ช้าไม่นาน.....
น่าเสียดาย.....ที่กัลปังหาบางต้นไม่โชคดีเหมือนเพื่อนๆ กลับยืนต้นแห้งตายอย่างเดียวดาย....
ปลาสิงโตสูงอายุท่าทางฉลาดตัวนี้คงรับรู้ได้ถึงการเกิด...แก่....เจ็บ...ตาย....ของสรรพชีวิตที่อยู่รอบๆตัวเองมานานวัน.....
ไม่มีขยะหรืออวนให้เก็บหรือตัดมากนัก.....พวกเราเลยมีเวลาเพลิดเพลินเจริญใจ กับการดำน้ำที่หินหัวกระโหลกกันมาก....
West of Eden เกาะ 7
วันและเวลาที่เราลงดำน้ำที่นี่....อากาศแจ่มใส ไร้คลื่นลม และน้ำใสแจ๋วจนมองได้ไกลกว่า 30 เมตร จุดดำน้ำแห่งนี้ กำลังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำ เหตุเพราะมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม แถมมีสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยให้หาชมอีกด้วย
สิ่งที่เสริมให้ West of Eden งดงามมากที่สุด คงต้องยกให้กับกัลปังหาพัดกอใหญ่ๆหลากสีสัน ที่ขึ้นเรียงรายอยู่ตามหินผา.....
กิ่งก้านที่สมบูรณ์และแข็งแรงของกัลปังหา กอร์ปกับสีสันที่สดใส เพิ่มชีวิตชีวาให้กับจุดดำน้ำแห่งนี้.....
ปะการังอ่อนสีหวานแหววที่ขึ้นแซมอยู่ตามแนวผา ทำให้บรรยากาศของที่นี่งามสดใสมากขึ้น....
ฟองน้ำครกสีชมพูขนาดใหญ่และเล็ก รูปทรงสวยงามตั้งอยู่บนยอดหิน.....
เราชื่นชมกับความงามที่เห็นอยู่เบื้องหน้า.....
อดยิ้มไม่ได้กับความงามอันน่าหลงใหลที่ประดับประดาอยู่ทั่วบริเวณ.....
บางครั้งก็นึกกังขา.....นักดำน้ำบางคนว่ายผ่านสิ่งที่สวยงามเหล่านี้ไปเหมือนไม่มีเยื่อใย....
สวยงามอย่างนี้.....ใยไม่สนใจ.... น่าเสียดายแทนจริงๆ.....
ไม่มีขยะหรืออวนให้เก็บมากนัก พวกเราหลายคนจึงไปก้มๆเงยๆ หาของดีดูอยู่ตามพื้นทรายและตามกอปะการังแข็ง....
มีพวกเราอีกหลายคนที่มีความสุขกับฝูงปลากลางน้ำที่ว่ายวนอยู่เหนือกองหิน.....
จากการดำน้ำที่สิมิลันจำนวน 5 ไดฟ์.....นอก จากการได้ทำกิจกรรมปล่อยหอยมือเสือ....ปล่อยปลา....และสำรวจตรวจเยี่ยมหอย มือเสือแล้ว เรายังเก็บขยะได้อีกราว 1.4 กิโลกรัม (เท่านั้น) ขยะที่เก็บได้ส่วนใหญ่เป็นเชือกและเศษอวนเก่าๆ
น่าดีใจแทนหัว หน้าและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน ที่ทั้งบนบกและใต้ทะเลของที่นี่กลับมาสวยงาม และสะอาดสะอ้านมากขึ้นกว่า เดิม.....
หลังจากเสร็จงานในเย็นวันแรกที่สิมิลัน.....ท่าน ผอ.จากประจวบฯ และพังงา พร้อมทั้งทีมงาน (ยกเว้นน้องยุ้ย....น้องกัญ....และน้องจี๊ด) ได้ขอแยกทางจากเรา เพื่อขึ้นไปพักบนเกาะ 4 และจะออกเดินทางกลับเข้าฝั่งในวันรุ่งขึ้น
ส่วน เรือโชคศุลีพาเราที่เหลือแยกไปจอดนอนที่อ่าวหินใบ หน้าเกาะ 8 พอตีห้าก็จะเดินเครื่องออกเรือ มุ่งหน้าพาเราไปที่เกาะบอน ซึ่งอยู่ด้านเหนือของเกาะสิมิลัน
ก่อนที่เรือจะถึงเกาะบอน....น้อง SNRเริ่มบรี๊ฟเกี่ยวกับเรื่องสภาพใต้น้ำ ของเกาะบอนและความปลอดภัยในการดำน้ำ ทำงานของเราในบริเวณนี้ และพวกเราแต่งตัวเตรียมพร้อมไว้ พอถึงเกาะบอนเราก็พร้อมจะกระโดดลงน้ำกันทันที
โชคดีจริงที่น้ำใสและ ไร้กระแส (อีกแล้ว)......เราทิ้งตัวลงน้ำบริเวณอ่าวด้านใต้ แล้วพากันว่ายไปทางหัวแหลมด้านตะวันตก ที่ความงามยังปรากฏให้เห็นได้กระจ่างตา
ปะการังอ่อนสีหวานๆบานสะพรั่งอยู่ตามชะง่อนผา...
นักดำน้ำส่วนมากนั้น พอลงดำน้ำได้ก็ดิ่งลงไปที่ลึกใต้แนวผา
เขาจะรู้ไหมนะ...ว่าเขาเสียโอกาสที่จะได้ชื่นชมความงาม ของปะการังอ่อนสีสันสดใสที่ดารดาษอยู่ทั่วไปตามหน้าผา
อีกทั้งตามยอดหินสูงๆต่ำๆต่างถูกประดับประดาไปด้วยปะการังอ่อน....ปะการังแข็ง....กัลปังหา....และฝูงปลาเล็กๆหลากหลายเผ่าพันธุ์
ช่างงามเหลือเกิน..... จนอยากจะเฝ้ามองอยู่อย่างนี้ให้นานเท่านาน....
ปะการังโต๊ะตัวสวยที่ยอดหินใกล้ผิวน้ำที่มาทที่นี่ทีไรก็ต้องถ่ายภาพไว้เริ่มมีร่องรอยผุกร่อน
แต่น่าดีใจ....ที่มีปะการังโต๊ะกิ่งใหม่สวยและสมบูรณ์ขึ้นซ้อนอยู่บนปะการังโต๊ะกิ่งเก่าที่คงจะเสื่อมสลายไปในไม่ช้าไม่นาน
กัลปังหาพัดสีชมพูหวานแหวว ที่ห้อยอยู่ตามหน้าผา ชูกิ่งก้านไสว ท้าทายความงามกับปะการังอ่อนสีหวานๆที่อยู่รอบๆ
สวยงามจริงๆค่ะ....
ตอบไม่ได้เลยว่ากัลปังหากับปะการังอ่อน....ใครสวยกว่ากัน....
ชื่นชมความงามของหน้าผาที่เกาะบอนได้ไม่นาน.....ก็เห็นเชือกปากอวนระโยงระยางอยู่ตามชะง่อนผา งานมาแล้ว.....พวกเราช่วยกันมะรุมมะตุ้มตัดเชือกกันอย่างแข็งขัน....
ขณะก้มหน้าก้มตาตัดเชือกปากอวนกันอยู่อย่างขมักเขม้น.....เสียงกรี๊ดๆของน้อง SNR ก็ดังก้องอยู่ข้างหู ทำให้ต้องเงยหน้าขึ้นมอง
อาการชี้มือชี้ไม้พร้อมกับเสียงกรี๊ดๆอย่างนี้ต้องมีของดีแน่ๆ สายชลเลยมองไปตามนิ้วที่ชี้ไปเบื้องหลังเรา
โอ้ คุณพระคุณเจ้า.....กระเบนราหู หรือ Manta Ray ขนาด 3 เมตรกำลังขยับปีกขึ้นๆลงๆตรงดิ่งมาจนเกือบชนเราแล้ว
แสง ไฟสว่างวูบวาบพร้อมกับการฮือลุกขึ้นมาของเรา ทำให้กระเบนราหูเริ่มเลี้ยวขวาเพื่อไม่ให้ชนกับพวกเราที่ขวางหน้าอยู่ แล้วก็ร่อนถลาไป
กว่าจะตั้งกล้องกดภาพได้....ก็ได้เพียงภาพด้านหางของคุณกระเบนราหูมาเชยชม.....
เธอไปแล้วก็ไปเลย...ไม่หวนกลับมาให้เราเห็นอีก....
กลับมาตัดเชือกปากอวนต่อจนสำเร็จเรียบร้อย.....เราเริ่มลอยตัวสูงขึ้นและขยับตีฟินมุ่ไปทางด้านเหนือ ของแหลมที่น้ำตื้นกว่าที่ปลายแหลม ปะการังโขดที่ยกตัวเหมือนรูปดอกเห็ด เป็นที่ที่เราแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนเสมอทุกครั้งที่มาเกาะบอน
แม้วันนี้ใต้ปีกดอกเห็ดจะไม่มีฉลามพยาบาล หรือฉลามดาวนอนอยู่เหมือนเคย แต่ที่นี่ก็สร้างความประทับใจให้เราทุกครั้งที่ได้มาเยือน...
ความประทับใจนั้น....อยู่ตรงปะการังสีส้มและชมพูหวาน หยดที่ระย้าย้อยอยู่ใต้ปีกรูปดอกเห็ดของปะการังโขด และฝูงปลากะตักตัวเล็กตัวน้อยที่แหวกว่ายไปมาอยู่หนาแน่น
มุมที่มองผ่านใต้ปีกรูปดอกเห็ดช่างสวยงามเสมอสำหรับเรา....
จะผ่านไปกี่ปีแล้วก็ตาม....ที่นี่ยังงดงามเสมอสำหรับสายชล....
บริเวณปะการังโขดรูปดอกเห็ด....มักมีของดีให้เราชมเสมอ
อย่างเช่น ปลาหมึกยักษ์ตัวโต ที่มักจะออกมาเดินโชว์ตัวไปมาอย่างไม่เขินอายผู้คนที่มามุงดูอยู่โดยรอบ....
ปลาเหยี่ยวหน้าจุด Foster's Hawkfish ที่นี่ก็แสนเชื่อง ยอมอยู่นิ่งๆให้ถ่ายภาพได้เท่าที่ต้องการ.....
บริเวณแนวปะการังแข็ง ที่สายชลชอบเรียกว่า Hard Coral Field เป็นอีกจุดหนึ่งที่สวยงาม
ปลา เล็กๆประเพศสลิดหิน (Damselfish) และ ปลากะรังจิ่ว (Basslet)หลากหลายพันธุ์ ที่ว่ายขึ้นๆลงอยู่ตามดงปะการังแข็ง ที่สมบูรณ์และขึ้นอยู่หนาแน่นนั้น นับเป็นเสน่ห์ของจุดดำน้ำบริเวณนี้ ที่เราเฝ้ามองได้ไม่รู้เบื่อ....
ที่นี่จึงเหมาะที่จะถ่ายภาพงามๆเก็บไว้เป็นที่ระลึก.... และ....เป็นที่ทำ Safety Stop ที่แสนวิเศษ....
โชคดีที่การดำน้ำไดฟ์แรกที่เกาะบอนนั้น นักดำน้ำยังไม่มากนัก แถมน้ำยังใสและไร้กระแสอีก
แต่พอเราลงดำน้ำไดฟ์ที่สองที่แห่งเดียวกันนี้.....นักดำน้ำก็มาก แถมกระแสน้ำก็แรง....ยังดีที่น้ำยังใสแจ๋วอยู่เหมือนเดิม
เมื่อนักดำน้ำจากเรือ 5-6 ลำ ไปรวมกันอยู่ที่หัวแหลมของเกาะบอน ความวุ่นวายก็ตามมา...
ที่ ขันไม่ออกก็คือเมื่อกระแสน้ำไหลแรงมาก จนยากที่จะลอยตัวหรือว่ายต้านน้ำจากด้านใต้ไปด้านเหนือได้ ไดฟ์ลีดเดอร์ของนักดำน้ำกลุ่มต่างๆ จึงได้สั่งให้ลูกทีมของตัวเกาะหิน ที่มีทั้งปะการังแข็ง และปะการังอ่อนขึ้น อยู่เต็ม เพื่อกันไม่ให้ตัวปลิวไปตามน้ำอยู่เป็นแถวๆ เข้าใจว่าการทำเช่นนี้ เพื่อให้นักดำน้ำเกาะรอคอยเวลาที่กระเบนราหูจะว่าย ผ่านมาให้ชม โดยไม่ให้ตัวปลิวไปตามกระแสน้ำที่ไหลแรง....
ลองคิดดูนะคะ....ถ้านักดำน้ำสักร้อยคน เกาะติดอยู่กับหินอย่างนี้ทุกคน....ทุกวัน.....ความงามของที่นี่จะเหลือให้เราเห็นอีกไหม....
แทนการใช้มือจับลงบนหินที่มีปะการังทั้งแข็งและอ่อนขึ้นอยู่เต็ม.....ทำไมเขาไม่ใช้ตาขอเล็กๆเกี่ยวรั้งตัวต้านกระแสน้ำไว้นะ....
อีกหน่อยภาพสวยๆอย่างนี้คงไม่มีให้เห็น.....
ถ้าไม่ช่วยกันดูแลรักษา.....อีกไม่ช้าไม่นานจะไม่เหลืออะไรเลย.....ไม่เหลืออะไรเลย.....
จากการดำน้ำที่เกาะบอน.....เราเก็บเศษอวนและเชือกปากอวนได้หนักรวม 3.5 กก. และได้พบเข็มขัดพร้อมตะกั่วหนัก 4 กก. มาอีก 1 เส้น....
ไม่ไกลจากปลายสายทุ่น.....กลุ่มที่ลงไปก่อนกำลังมะรุมมะตุ้มกับเศษซากอวนเก่าๆ ที่เชือกปากอวนพาดพันอยู่ตามกองหินใต้น้ำ
ยิ่งว่ายไป....เชือกปากอวนก็ยิ่งมากขึ้น....
มีงานให้เราทำกันไปตลอดทาง....
ไม่นาน....ถุงตาข่ายหลายใบก็อัดแน่นไปด้วยเศษซากอวน
ทั้งเหนื่อย....ทั้งหนัก....
แต่....เพื่อทะเล.....ความสุขใจเกิดขึ้นได้เสมอ....
ไปล่าอวนกันต่อ.....
เจออีกจนได้.....ตากล้องชั้นเทพอย่างน้องพิงค์ ก็เลยต้องวางกล้อง หันมาจับกรรไกรตัดเชือกอวนแทน....
แต่ทริปนี้กินเจ....น้องพิงค์เลยไม่ค่อยมีแรง สายชลเลยต้องโยนกล้องให้คุณสายน้ำ แล้วว่ายผลัดไปตัดอวนแทน....
ตัดอวนกันจนใกล้ติดดีคอม. เลยต้องลอยตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่ตื้นขึ้น....
น้ำที่ขุ่นมัวในตอนต้นๆไดฟ์ที่เกาะตาชัย กลับมาใสแจ๋ว ทำให้ทัศนวิสัยสูงกว่า 20 เมตร......
ครั้งนี้...เราไม่มีเวลาชมความงามของตาชัยเลย เพราะมัวแต่ตัดอวนกัน ภาพที่ได้จึงไปอยู่แถวๆยอดหิน.... กัลปังหาพัดของที่นี่สีออกส้มอมเหลืองเหมือนสีทอง.....สวยดีค่ะ
แต่ปะการังอ่อนสีกลับเข้มและออกสีชมพูอมแดงเป็นส่วนใหญ่ ไม่หวานแหววเหมือนที่เกาะบอน
พวกเราส่วนใหญ่ที่ไปตัดอวนกันในที่ลึกๆ ไต่ขึ้นมาอยู่แถวๆยอดหิน ตั้งแต่ไก่ยังไม่โห่....
อยากอยู่ต่อ....แต่หมดเวลาดำน้ำไดฟ์นี้แล้ว....
ปลาข้างเหลืองฝูงใหญ่ที่ว่ายไปมาอยู่บนยอดหินทำให้เพลิดเพลินเจริญใจ.....
ภาระหิ้วถุงอวนหนักๆ ยังตกอยู่กับฝ่ายหญิง (เช่นเคย)....
สาวๆ SOS นี่อึดจริงๆค่ะ....
การยิง Safety Sausage.....งานเบาๆ แต่ก็ทำให้ยุ่งยากได้เหมือนกัน....
งานนี้ต้องพักน้ำกันนานๆหน่อย....
ขยะที่เราเก็บได้ที่เกาะตาชัย เป็นพวกเศษอวนและเชือกเป็นส่วนใหญ่ น้ำหนักรวมราว 15.8 กก.
ถึงน้ำหนักจะไม่มาก....แต่ยุ่งยากและใช้เวลามากทีเดียว
ริเชลิว .... เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราต้องไปดำ วัตถุประสงค์หลัก ไม่ใช่เพื่อไปดูเจ้าตัวเล็กทั้งหลาย หรือ ไปตามหาฉลามวาฬ แต่เพื่อไปเก็บเศษขยะเศษอวนที่ได้รับรายงานมาให้ทราบว่า มีเหมือนกัน
ฝูงปลาตัวใหญ่ตัวน้อยหนาแน่นไปหมด คงจะรอดจากอวนมานาน จึงเติบโตและรวมตัวกันได้ฝูงใหญ่ขนาดนี้
กองหินใต้น้ำริเชลิวยังสวยงามและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาอย่างเคย.....
ยิ่งน้ำใสๆ....อะไรก็ดูดีและสวยงามไปหมด....
ปะการังถ้วยส้มเบ่งบานสะพรั่งเต็มหน้าผา เพื่อดักจับแพลงก์ตอนกินเป็นอาหารเช้า.....
ปะการังถ้วยน้ำตาลก็เบ่งบานประชันความงามกัน....
ปลาหมึกกระดองตัวนี้ก็คงคิดเหมือนเรา....ริเชลิวช่างสวยงามเหลือเกิน....
ที่ความลึกเกือบ 30 เมตร...... มีซากอวนผืนใหญ่ให้เราได้ตัดกันอย่างสนุกสนาน
มือเก่าอย่างป๋าหนิ่ง จัดการผูกถุงก๊อบแก๊บเข้ากับอวน เพื่อช่วยให้การตัดง่ายขึ้น....
ระหว่างที่เราตัดอวนกันอยู่ มีนักดำน้ำฝรั่งสองคนเฝ้ามองเราทำงานอยู่ตลอดเวลา คงจะมาจับผิด เพราะไม่มีสมองคิดจะมาช่วยเราทำงานเลย.... เราเห็นอวนลอยขึ้นไปถึงผิวน้ำ แต่ดิ้งกี้กลับหาอวนไม่เจอเสียนี่....
เราเห็นอวนลอยขึ้นไปถึงผิวน้ำ แต่ดิ้งกี้กลับหาอวนไม่เจอเสียนี่....
เฮ้อ.......มันน่าเจ็บใจ.....ไหมล่ะนี่.....
ลงดำน้ำทำงานกันลึกและนานขนาดนั้น....ไดฟ์นี้เราจึงไม่มีเวลาชื่นชมความงามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ของกองหินริเชลิว.....
เราค่อยๆไต่ขึ้นไปตามยอดหิน เพื่อพักน้ำ
อืมมม......ได้เห็นปะการังอ่อนงามๆอย่างนี้ก็ชื่นใจแล้ว.....
จากการดำน้ำที่กองหินริเชลิวสองไดฟ์.....พวกเราช่วยกันเก็บเศษอวนได้รวมกันถึง 38.5 กิโลกรัม.....
ดีใจค่ะ.....ริเชลิวสวยงามและสะอาดตาขึ้นเยอะเลย.....
จากริเชลิว.....เรือโชคศุลีหันหัวไปทางทิศตะวันตก เพื่อแล่นไปสู่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์.....
ภาระ กิจหลักของเราที่เกาะสุรินทร์ก็คือการไปสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือที่เราได้ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และ ป่าชายเลน ภูเก็ต ได้นำมาปล่อยไว้ เมื่อปี 2550
ภาระกิจรองก็คือการตัดอวนและเก็บขยะใต้ทะเล....หากจะมีให้เราเก็บ
และ คราวนี้เรามีภาระกิจที่บังเอิญไปได้มาตอนขึ้นเกาะสี่ สิมิลัน.....นั่นคือการช่วยนำทุ่นผูกเรือสีส้มที่ทางหัวหน้าอุทยานฯ สิมิลัน ได้ฝากให้นำไปมอบให้กับหัวหน้าอุทยานฯ สุรินทร์ เพื่อนำไปผูกสำหรับให้เรือจอดพัก แทนการทิ้งสมอที่จะทำลายปะการังจนราบเรียบ....
โชคดีที่ได้พบท่านหัวหน้าอุทยานฯ (คุณวิโรจน์ โรจนจินดา) ที่กำลังรอพวกเราอยู่ด้วยความกระวนกระวายใจ เพราะไม่สามารถจะติดต่อกับเราได้ (เพราะไปได้เบอร์โทรศัพท์มาผิด)
ท่าน หัวหน้าวิโรจน์ พูดคุยกับเราด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดียิ่ง และรับฟังเรื่องการทำงานของเราด้วยความตั้งใจและชื่นชม ถึงแม้ท่านจะเพิ่งย้ายมาประจำการที่อุทยานฯ สุรินทร์ แต่ก็ดูท่าทางจะรู้ดีเกี่ยวกับปัญหาของที่นี่ และพร้อมจะจัดการและบริหารงานของที่นี่ให้ดียิ่งกว่าเดิม
ดีใจค่ะที่อุทยานฯ สุรินทร์ ได้คนดีที่ตั้งใจจริงมาทำงาน
แนวปะการังแข็งในบริเวณที่เราเริ่มลงไปดำน้ำสำรวจ ที่อยู่ห่างจากที่ทำการของอุทยานฯราว 200 เมตร และมีความลึกตั้งแต่ 5 - 10 เมตร นั้น อยู่ในสภาพที่สวยงามและสมบูรณ์มาก
ปะการังโขดที่อยู่ในช่วงน้ำตื้นนั้นสูงใหญ่ บางยอดอยู่ห่างจากผิวน้ำเพียงเมตรเศษ....
บริเวณนี้เคยถูกถล่มด้วยคลื่นยักษ์สึนามิจนได้รับ ความเสียหาย ซึ่งยังพอจะเห็นร่องรอยได้ทั่วไป แต่ธรรมชาติพยายามช่วยเหลือเยียวยาตัวเองอย่างเต็มที่
บางบริเวณก็ดูจะได้ผลดี ปะการังแตกกิ่งก้าน ขยายตัวออกไป
แม้จะเคยล้มคว่ำคะมำหงาย ก็ยังพยายามงอกเงยขึ้นมาใหม่ เพื่อรอรับแสงแดด....
การดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดและแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ออกไป ของแนวปะการังแข็งแห่งเกาะสุรินทร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าใส่ใจ....
ปะการังไฟกอนี้กำลังแผ่กิ่งก้านอย่างงดงาม....
เราพยายามมองหาหอยมือเสือทั้งที่เป็นหอยที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติ และหอยที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ของทีมงานแม่หอย ซึ่งเราได้นำมาปล่อยไว้เมื่อ สองปีที่แล้วในบริเวณพื้นราบในเขตน้ำตื้นไม่เกิน 8 เมตร
นานเกือบ 10 นาที กว่าเราจะได้พบหอยมือเสือตัวแรก.....เราดีใจกันมากๆที่ได้เห็น...
ดูสิคะ....ตัวใหญ่กว่าฟุต และท่าทางจะเป็นหอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ....
แต่พอไปดูน้องหอยใกล้ๆ.....
โฮๆ....น้องหอยไปเฝ้าพระอินทร์ซะแล้ว เหลือแต่เปลือกให้ดูต่างเนื้อที่หายไปไหนหมดก็ไม่ทราบ.....
จากจุดที่พบ(เปลือก)หอยมือเสือตัวแรก.....เราดำน้ำมุ่งหน้าต่อไปทางด้านที่ทำการอุทยานฯ ที่เราเคยปล่อยหอยมือเสือ จำนวน 200 ตัวไว้
สภาพน้ำที่ใสแจ๋วเมื่อตอนกระโดดลงน้ำ เริ่มขุ่นมัว และมีตะกอนทรายสีขาวฟุ้งลอยฟ่องไปทั่วบริเวณช่วงน้ำตื้นราว 3 - 5 เมตร.....
แนวปะการังเริ่มมีลักษณะทรุดโทรมเหมือนถูกถล่มด้วยสึนามิรอบที่สอง
เรา สังเกตเห็นแนวทรายที่ไหลลงไปจากช่วงตื้น ลงไปตามแนววลาดชันที่ความลึกราว 10 เมตร บริเวณแนวทรายขาวนั้นไม่มีปะการังที่มีชีวิตให้เห็น แต่ปลายแนวทรายกลับมีซากปะการังกองสุมอยู่เป็นกองสูง
แนวทรายนั้นไม่มีแค่แนวเดียว แต่มีให้เห็นไปตลอดทาง......
อย่างนี้ใช่ไหมที่เขาเรียกว่า Sand Slide
เราได้เห็น(เปลือก)หอยมือเสือตัวที่สองขนาดเกือบฟุต ยืนตายซากอยู่กลางลานทรายและซากปะการังสีขาวสะอ้าน....
เศร้าใจมากจนอยากจะร้องไห้.....
ตามมาด้วยเปลือกหอยที่สามที่มีสภาพเหมือนกับตัวที่สอง.....แต่ขนาดและรูปร่างช่างใกล้เคียงกับหอยที่เรานำมาปล่อยเหลือเกิน....
เปลือกหอยตัวที่สี่....มีสภาพเหมือนสองตัวก่อนหน้านี้ แต่มีขนาดใหญ่ฟุตเศษ และดูแล้วน่าจะเป็นหอยตามธรรมชาติ....
ตัวที่ห้า....ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งน่าจะเป็นหอยธรรมชาติที่มีขนาดฟุตครึ่ง แต่สีสันไม่สวยสดใสและเนื้อบริเวณปากไม่ห้อยย้อยอย่างที่เคยเห็น แถมหอยตัวนี้ยังอยู่ใกล้รอยต่อระหว่างพื้นราบช่วงน้ำตื้นกับแนวลาดที่ เหมือนปากเหวลึกที่สูงชันลงไปเบื้องล่าง
ขืนปล่อยน้องหอยทิ้งไว้อย่างนี้ อีกไม่นานก็คงจะกลิ้งตกไปอยู่ที่เหวลึกเบื้องล่างแน่นอน....
เราเลยจำเป็นต้องขอย้ายน้องหอยเข้าไปแอบอยู่ในแนวปะการัง ที่ห่างจากขอบปากเหวกว่า 3 เมตร งานนี้ตกเป็นงานที่หนักของน้องจิ๋ว Udomlert และป๋าหนิ่งที่แข็งแรงและบึกบึน
แต่ หอยมือเสือตัวนี้ที่หนักกว่าสิบกิโลและเปลือกที่แสนคม ทำให้น้องจิ๋วและน้องหนิ่ง ล้มลุกคลุกคลานกว่าจะเคลื่อนหอยมือเสือไปวางไว้ ที่จุดปลอดภัย และได้แผลสดเลือดซิบๆมาเป็นของฝากหลายแผล ทั้งที่มือ....แขน....และขา...
น้องหอยคงนึกว่าเจอสึนามิเข้าอีกรอบซะแล้ว จึงตกใจกลัว ไม่ยอมเปิดปากมายิ้มให้เรา
หอยตัวที่หกและเจ็ดนั้นอยู่ใกล้เคียงกัน
หอยตัวที่หกเป็นหอยพันธุ์ T. Squamosa ที่เหลือแต่เปลือก มีขนาดและรูปร่างเหมือนกับที่เราได้นำไปปล่อย
ส่วนหอยตัวที่เจ็ด....เป็นพันธุ์ T. Maxima หรือหอยติดหิน ที่ฝังตัวอยู่ในซอกหินอยู่ครึ่งตัว ซึ่งหอยตัวนี้เกิดเองตามธรรมชาติและยังมีชีวิตอยู่
ตัวที่ 8....เป็นตัวที่เรายิ้มได้อย่างมีความสุขขึ้นมานิดหนึ่ง....
หอย มือเสือพันธุ์ T. Squamosa ธรรมชาติ ขนาดเกือบสองฟุต ยังมีชีวิตอยู่ที่ดูสวยงามน่ารัก ตั้งอยู่บนซากปะการัง ที่บริเวณเปลือกด้านนอกข้างหนึ่ง มีดอกไม้ทะเลกองามเกาะติดอยู่ และมีครอบครัวปลาการ์ตูนส้มขาว หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อนีโม จำนวนสามตัวอาศัยอยู่ในกอดอกไม้ทะเลนั้น
น่ารักมากๆเลยค่ะ....ทั้งน้องหอยและน้องปลาการ์ตูน....
คงต้องขอทางท่านหัวหน้าอุทยานฯ เกาะสุรินทร์ พิจารณาเรื่องนี้ให้ด้วยนะคะ....
น้องหอยตัวที่ 9.....ไม่โชคดีเหมือนน้องหอยตัวที่ 8 แม้จะมีดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูนนีโม 4 ตัวประดับประดาอยู่บนเปลือกด้านหนึ่งอย่างสวยงาม แต่น้องหอยบุญน้อยหนีจากโลกไปเสียก่อน
น่าเสียดาย....น้องหอยตัวนี้ใหญ่ราวสองฟุต แต่มาตายเสียก่อน ไม่แน่ใจว่าได้แพร่พันธุ์ลูกหลานในทะเลไทยก่อนตายบ้างหรือไม่
เรา สังเกตว่าจุดที่น้องหอยนอนตายอยู่นั้น อยู่ใต้ร่มเงาของปะการังโขดที่มีระดับ น้ำตื้นเพียงสองเมตรกว่าๆ น้ำบริเวณนี้ค่อนข้างอุ่นกว่าปกติ....
เราตีฟินใกล้หน้าที่ทำการอุทยานฯเข้าไปทุกที.....และแล้วเราก็ได้พบภาพที่เศร้าสะเทือนใจเราเป็นอย่างยิ่ง
ที่ ปะการังโขดสูงใหญ่ที่ยอดอยู่ปริ่มๆน้ำที่กำลังไหลลงจนใกล้ต่ำสุด ซึ่งสายชลจำได้อย่างแม่นยำว่า เมื่อปีที่แล้วเราได้เห็นที่ปะการังโขดแห่งนี้ ที่โดยรอบทั้งบนพื้นและตามโขดปะการังถูกประดับประดาด้วยหอยมือเสือพันธุ์ T. Squamosa ทั้งที่เป็นหอยธรรมชาติ และหอยที่เรานำมาปล่อยหลายตัว แถมด้วยหอยมือเสือพันธุ์ T. Maxima ที่ฝังอยู่ในปะการังโขดครึ่งตัว และที่ตัวลอยออกมาจากเนื้อปะการังโขดหรือหิน เหมือนไปถูกสกัดมาจากที่อื่นแล้วนำมาวางประดับไว้
แทนที่จะดีใจที่ ได้เห็นหอยหลายตัวมาอยู่ ณ. ที่เดียวกัน......สายชลกลับมึนงงกับภาพที่ได้เห็น พร้อมกับรู้สึกโกรธมาก แต่น่าเสียดายที่เราทั้งหลายที่ได้เห็นภาพนั้น ได้แต่มองตาปริบๆ ไม่ได้คิดจะเคลื่อนย้ายหอยมือเสือที่เห็นให้พ้นจากปะการังโขด เพื่อป้องกันไม่ให้หอยมือเสือถูกแสงแดดที่แรงกล้าผ่านน้ำตื้นๆลงมา
ในปีนี้....เราจึงได้เห็นภาพที่น่าสลดใจเช่นนี้.....
หอย ตัวที่ 10.....นอนตะแคงตายอยู่ที่พื้นใกล้ๆปะการังโขดอย่างน่าอนาถ ขนาดและรูปร่างน่าจะเป็นหอยที่เรานำมาปล่อยไว้เมื่อสองปีก่อน....
หอยตัวที่ 11....เป็นหอยพันธุ์ T. Squamosa ธรรมชาติ ขนาดร่วมสองฟุต นอนตายเหลือแต่เปลือกอยู่ใต้ปะการังโขด....
หอยตัวที่ 12... ขนาดและสายพันธุ์ เหมือนกับตัวที่ 11 นอนตายอยู่ที่ตีนปะการังโขด มีปะการังไฟกิ่งเล็กๆเริ่มมาเกาะอาศัยอยู่....
ตัวที่ 13.....เป็นพันธุ์ T. Squamosa ธรรมชาติ ขนาดราวสองฟุต นอนตายอยู่ที่พื้นติดกับตีนปะการังโขดเช่นกัน...
ตัวที่ 14 และ 15......เป็นพันธุ์ T. Maxima ธรรมชาติ ขนาดราว 20 เซนติเมตร ตัวแรกนอนตะแคงตายอยู่ที่ซอกปะการังโขด
ส่วนอีกตัวกลิ้งตกมาตายอยู่ที่พื้น เปลือกที่บอบบางแตกหักเสียหาย....
ตัวที่ 16....เป็นพันธุ์ T. Maxima และเป็นเพียงตัวเดียวที่อยู่แถวปะการังโขดที่รอดชีวิตอยู่ได้...
ไม่แน่ใจว่า....หอยตัวนี้จะทนแสงแดดที่แผดเผาไปได้นานเพียงใด.....
น้ำเริ่มขุ่นขาวและเย็นขึ้นด้วยฤทธิ์ Thermocline ที่กระแสน้ำพัดพาน้ำเย็นๆจากเบื้องล่างขึ้นมากระทบตัวเราจนหนาวสะท้าน
ที่ขวางหน้าเราอยู่คือแนวน้ำตื้นที่ทอดยาวไปจนถึงหน้าที่ทำการอุทยานฯ....
ไม่ มีประโยชน์จะว่ายน้ำไปที่นั่น เราจึงหันหลังกลับ และลงดำน้ำให้ลึกลงไปที่ระดับ 10 เมตร แม้น้ำจะเย็นเฉียบก็ยังดีกว่าเพื่อทัศนวิสัยที่ต่ำมากในบริเวณน้ำตื้น
บริเวณ ชะง่อนผาที่ซากปะการังไปทับถมที่ปลาย Sand Slide....เราพบหอยตัวที่ 17 สายพันธุ์ T. Squamosa ธรรมชาติ ที่มีตะกอนทรายขาวละเอียดจับอยู่เต็มเนื้อบริเวณริมปาก...
ถ้าขืนปล่อยตะกอนทรายทิ้งไว้และไม่มีกระแสน้ำมาพัด ผ่านไล่ตะกอนทรายไป....ไม่นาน หอยตัวนี้ก็จะไม่ได้รับแสดงแดด สาหร่ายซูแซนทาลี่ ที่เป็นพืชและอาศัยพื่งพาอยูในเนื้อเยื่อของหอยมือเสือ ก็จะไม่สามารถสังเคราะห์แสง ถ้าหนีไปไม่ทันก็อาจจะตายได้ หอยมือเสือก็จะขาดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล และอ๊อกซิเจนที่สาหร่ายผลิตให้ หอยก็จะซีดขาวและอาจตายได้ในที่สุด....
เราเลยช่วยกันปัดตะกอนทรายออกจากน้องหอยมือเสือ และน้องหอยก็กลับมาสดใสได้อีกครั้ง....
ไม่ไกลกันนัก....เราพบหอยตัวที่ 18 ซึ่งเป็นพันธุ์ T. Squamosa ธรรมชาติที่สวยงามและใหญ่ที่สุดคือราวสองฟุตเศษ....
ลองเทียบขนาดกับคนตัวโตๆอย่างสายชลดูนะคะ....
แต่การตั้งตัวของหอยที่เอียงตามแนวลาดนั้น ทำให้เราเกรงว่าหอยตัวนี้จะกลิ้งตกไปที่ลึกๆในไม่ช้า....
เกือบจะถึงสายทุ่นที่เรือผูกทุ่นอยู่.....เราพบหอยตัวที่ 19.....เกาะติดแน่นอยู่ในซากปะการัง โผล่แต่เพียงปากออกมาให้เห็น
ด้วยสีสัน...รูปร่าง และขนาด ทำให้เรามั่นใจว่าน่าจะเป็นหอย T. Squamosa ที่เราได้ปล่อยไว้เมื่อสองปีก่อน ดีใจมากค่ะ....ที่ได้พบหอยตัวเป็นๆที่เราปล่อยไว้ แม้ว่าจะเป็นตัวเดียวในสองร้อยตัวที่เราปล่อยก็ตาม....
ที่ความลึก 10 เมตร ใต้ท้องเรือ......เราได้เห็นแนวปะการังที่สวยงามและสมบูรณ์ของปะการังแข็ง นานาพันธุ์ที่บริเวณน้ำตื้น และไม่มีร่องร่อยของ Sand Slide ให้เราเห็น....
ปะการังปลายเข็ม Needle Coral แพร่กระจายยู่ตามแนวลาดชัน.....
ช่างบอบบางเสียจนไม่กล้าเข้าใกล้.....
ปะการังจาน (Disc Coral) กำลังแตกยอดอ่อน ออกสีเขียวจางๆ ดูสวยงามและเย็นตา.....
น่าห่วงใยค่ะ.....ที่สาหร่ายใบมะกูดกำลังเจริญงอกงาม เตรียมขยายอาณาเขตรุกรานปะการังจานและปะการังอื่นๆที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
เมื่อสองปีก่อน....เราเห็นสาหร่ายเห็ดหูหนูขึ้นอยู่ แน่นตามที่ลาดชัน แต่เมื่อปีที่แล้วและปีนี้กลับไม่เห็นแม้เงา กลายเป็นเห็นสาหร่ายใบมะกูดขึ้นมาแทน
เมื่อไต่ขึ้นมาบนที่ราบบริเวณน้ำตื้นเลยจุดทุ่นผูกเรือไปแล็กน้อย เราได้เห็นสภาพ Sand Slide อีกครั้ง..... น่าขันที่โพลิบด้านที่อยู่ติดน้ำลึกนั้น....ปะการังหนวดถั่ว (Bean Coral) บานแฉ่ง ในขณะที่โพลิบด้านน้ำตื้นหุบสนิท....
ก่อนจะขึ้นจากน้ำ....เราได้พบลูกหอยมือเสือ T. Squamosa ขนาด 10 ซม. นับเป็นหอยตัวที่ 20 ละเป็นลูกหอยตัวเดียวที่เราได้เห็น.... หอยตัวนี้เป็นลูกของหอยธรรมชาติ หรือว่าเป็นลูกของหอยที่เราปล่อยไว้หรือเปล่าหนอ.....
โชคดี.....ที่หอยมือเสือตัวที่ 21 พันธุ์ T. Squamosa ขนาดเกือบสองฟุตนอนยิ้มส่งเราขึ้นสู่ผิวน้ำ....
ดูสิคะ....ตัวน้องหอยโตแค่ไหน....
ที่อ่าวช่องขาดด้านเหนือ ของเกาะสุรินทร์....รวมจำนวนขยะที่เป็นเครื่องมือประมง (อวนและเชือกปากอวน) และถังน้ำมันตัดครึ่งน้ำ ที่เราช่วยกันเก็บได้ น้ำหนักรวม ราว 10 กิโลกรัม
รวมขยะและเศษอวนที่เราเก็บได้จากการดำน้ำที่อันดามันเหนือทั้งหมด 74.8 กิโลกรัม..... ไม่น้อยเลยนะคะ
ภารกิจทั้ง 4 วันสำเร็จลงได้อย่างราบรื่น ... SOS ต้องขอขอบคุณผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย อันได้แก่ ....
1. ผอ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ (ผอ.จินตนา นักระนาด) ผอ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง พังงา (ผอ.สุทธิชัย ฤทธิธรรม ) และ ผอ.คมน์ ดร.ก้องเกียรติ แห่งสถาบันฯ ภูเก็ต รวมทั้งคุณโกวิท น้องยุ้ย น้องกัญ น้องจี๊ด และทีมงานทุกท่าน ที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมหอยมือเสือ และพันธุ์ปลา
2. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน (คุณประยูร ศรีสุวรรณ) และ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (คุณวิโรจน์ โรจนจินดา) ที่อนุญาตให้พวกเราเข้าไปปฏิบัติงานในเขตอุทยาน
และอำนวยความสะดวกให้อย่างดี ตลอด 4 วัน
3. คุณเสรี ที่สนับสนุน โดยคิดค่าบริการในราคาพิเศษ และสต๊าฟเรือโชคศุลีที่ขยันขันแข็งทุกคน
4. สมาชิก SOS ทั้ง 22 ท่าน ที่เสียสละแรงงาน และทรัพย์สิน ไปร่วมกันปฏิบัติงานจนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ดำน้ำที่อันดามันเหนือ (หมู่เกาะสุรินทร์)
หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นหมู่เกาะ 5 เกาะ ที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดสำหรับการดำน้ำตื้นชมปะการัง แม้ความรุนแรงของคลื่นยักษ์ ได้ทำลายปะการังที่อ่าวช่องขาด และร่องตอรินลาเสียหายเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีจุดดำน้ำตื้นหลายแห่งที่ยังคงสภาพที่ดีอยู่ ได้แก่หินราบหรือหินกอง อยู่ด้านเหนือของเกาะสุรินทร์เหนือ เป็นกองหินที่โผล่พ้นน้ำขนาดเล็ก มีสันหินทอดยาวไปทางทิศตะวันตก ด้านตะวันออกเป็นผาชันลงสู่ความลึกมากกว่า 100 ฟุต หินราบเป็นจุดที่มีนักดำน้ำน้อย บางจุดพบกัลปังหาขนาดใหญ่หลายต้น โดยเฉพาะตอนปลายของหินด้านทิศตะวันออก ตามหินมักมีทากทะเลอาศัยอยู่ หลายชนิดเป็นทากหายากและสีสันสวยแปลกตา จัดเป็นจุดชมทากทะเลที่ดีจุดหนึ่งในหมู่เกาะสุรินทร์ สัตว์พวกกุ้งปูพบอยู่บ้างตามกองหิน เช่น ปูดอกไม้ทะเล เรายังพบหมึกกระดองเป็นประจำ บางครั้งมีฝูงปลากล้วยขนาดใหญ่ผ่านเข้ามา อาจจะได้เจอฉลามบ้างเป็นครั้งคราว มีทั้งฉลามเสือดาว ฉลามครีบเงิน และฉลามครีบขาว มักอยู่ปลายสันหินด้านตะวันออก
เกาะไฟแว๊บหรือเกาะสตอร์ค อยู่ทางทิศตะวันออกของหินราบห่างประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีกระโจมไฟของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือตั้งอยู่บนเกาะ ชาวบ้านเรียกเกาะนี้ว่า เกาะไฟแว๊บ ที่มีแนวปะการังแข็งสมบูรณ์แห่งหนึ่ง โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตกของเกาะ ทางด้านเหนือเป็นหลืบหินขนาดใหญ่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด ความลึกโดยเฉลี่ยบริเวณนี้อยู่ที่ 30-70 ฟุต นักดำน้ำมักพบเต่าทะเลเสมอ นอกจากนั้นยังมีปลาสิงโต รวมทั้งปลากหมึกกระดอง และทากเปลือย
อ่าวจาก อยู่ด้านตะวันออกของเกาะสุรินทร์เหนือ เป็นแนวปะการังในอ่าวใหญ่ ขอบแนวปะการังห่างจากฝั่ง 200-400 เมตร ด้านในเป็นปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ด้านนอกมีปะการังก้อนเป็นจุด สลับกับดงปะการังเขากวางกว้างใหญ่ และมีปลาสีสวยสลับสีเต็มท้องน้ำ อ่าวจากนั้นอยู่ไกลจากที่พัก ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที นับเป็นจุดดำน้ำไกลที่สุดแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสุรินทร์ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวน้อย แหล่งดำน้ำจุดนี้จึงยังคงความสมบูรณ์และบริสุทธิ์อยู่มาก
อ่าวสุเทพ เป็นอ่าวใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะสุรินทร์ใต้ มีแนวปะการังยาวถึง 1,200 เมตร ห่างจากฝั่ง 200-500 เมตร หรือมากกว่านั้น ด้านในเป็นปะการังขนาดเล็กปนเศษปะการัง ด้านนอกเป็นปะการังก้อนขนาดใหญ่ขึ้นสลับกับปะการังแผ่นนอนใหญ่มาก ขอบแนวปะการังลาดลงสู่พื้นทราย ความลึกราว 80 ฟุต มีปะการังอ่อนและกัลปังหาน้อยมาก จัดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในอ่าวไทย มีปะการังอ่อน หอยมือเสือ ให้คุณได้ชื่นชม พร้อมปลานานาชนิด ส่วนใหญ่เป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก
อ่าวเต่า อยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ เป็นแนวปะการังริมเกาะ กว้าง 50-200 เมตร แนวปะการังหักชันดิ่งลงที่ความลึก 70-80 ฟุต ปะการังขนาดเล็กอยู่ด้านใน ตรงกลางมีปะการังหลากหลาย ขอบแนวปะการังพบปะการังก้อนขนาดใหญ่บ้าง มีปะการังอ่อนและกัลปังหา อยู่เป็นหย่อมในที่ลึก อ่าวเต่าขึ้นชื่อเรื่องเต่า เพราะที่นี่มีเต่ากระว่ายน้ำวนเวียนไปทั่ว นอกจากนี้ยังมีโอกาสพบกระเบนราหูและฉลามวาฬบ่อยครั้ง
อ่าวผักกาด เป็นอ่าวเล็ก ๆ อยู่ถัดจากอ่าวเต่าไป แนวปะการังของอ่าวผักกาด ทอดตัวริมฝั่งกว้างประมาณราว 150 เมตร ก่อนจะดิ่งลงสู่ความลึก 60 ฟุต อ่าวผักกาดเป็นจุดที่มีปะการังหลากหลายสูง ที่แคบ ๆ พบทั้งปะการังก้อน แผ่นตั้ง แผ่นนอน เขากวาง ในดงปะการังนี้อุดมไปด้วยดอกไม้ทะเลและหอยมือเสือ ปลานานาชนิด และเต่าทะเลที่แวะมาเยือนเป็นครั้งคราว
กองหินริเชลิว เป็นภูเขาหินใต้น้ำ อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์มาทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร ที่มีความหลากหลายของสัตว์น้ำและปะการังนานาชนิด จากผิวน้ำสามารถจะเห็นปลาสาก ปลาหูช้าง ที่ระดับยอดหินริเชลิว จะมีฝูงปลาในแนวปะการังทุกชนิด และที่นักดำน้ำชื่นชอบมาก คือ ปลาหมึกกระดอง ที่มักจะอยู่กันเป็นคู่ ที่ระดับน้ำกลางน้ำ มีฝูงปลาล่าเหยื่อหลากหลายที่วนเวียนเข้ามาหาอาหารในบริเวณกองหิน เช่น ปลากะมง ปลาตะคอง ปลาเรนโบว์ ปลารันเนอร์ ปลาอินทรี นักดำน้ำที่มาที่กองหินริเชลิวบ่อยครั้ง มักเฝ้ารออยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 30-40 ฟุต เพื่อรอฉลามวาฬ ที่จะเข้ามาหาอาหารอยู่เสมอ บ่อยครั้งมากันคราวละหลายตัว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้นักดำน้ำเป็นพิเศษ
บริเวณรอบกองหินเต็มไป ด้วยสีสันของปะการังอ่อน กัลปังหาสีเหลือง ส้มและแดง และฝูงปลาเล็ก ๆ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตหลากหลายที่อยู่ในซอก เช่น ปลาสิงโต ปลาแมงป่อง กั้ง ตั๊กแตน ปลาไหลมอร์เรย์หลายชนิด และปลาหมึกยักษ์ เป็นต้น และที่บริเวณความลึกตั้งแต่ 80 ฟุต ลงไปจนถึงระดับ 150 ฟุต เป็นแหล่งกบดานของปลาใหญ่ เช่น ฉลามพันธุ์ต่าง ๆ ปลากระเบน ตลอดจนโรนัน ที่นักดำน้ำพบเห็นได้เสมอ
นักดำน้ำสามารถเช่าเรือหางยาวไปดำน้ำตามเกาะต่าง ๆ ได้บริเวณหน้าอุทยานฯ
การเดินทาง
รถ ยนต์ จากอำเภอเมืองพังงา ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ไปอำเภอคุระบุรี ก่อนถึงอำเภอคุระบุรี 6 กิโลเมตร กิโลเมตรที่ 721 เลี้ยวซ้ายไปราว 2 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือ
รถโดยสารประจำทาง มีรถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง และบริษัท ลิกไนท์ จำกัด โทร. 0 2435 5016 0 2435 7428
อุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อยู่ห่างจากฝั่ง 60 กิโลเมตร เรือโดยสารใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง ส่วนเรือเร็วใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โทร. 0 7649 1378 หรือคุระบุรี กรีน วิว รีสอร์ท โทร. 0 7649 1477 – 8 นักท่องเที่ยวควรติดต่อจองที่พักจากอุทยานฯ ล่วงหน้า และหน้าที่ทำการอุทยานฯ จะมีเรือให้เช่าไปเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ
Thanks Amie for the wonderful photos and your help to promote this special project.
ReplyDeleteRead more info: http://americanthaidotnet.multiply.com/journal/item/5/5